Page 25 - kpiebook66024
P. 25

1
                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


                 ที่สำคัญ หลักการดังกล่าวนี้มีการกล่าวถึงและอภิปรายกันเป็นอย่างมาก
           ในกลุ่มนักวิชาการด้านการเมืองและนักวิชาการด้านกฎหมาย ว่าการนำหลักการแบ่งแยก
           การใช้อำนาจมาปรับใช้นั้น จะทำให้เกิดผลเช่นไร และมีข้อจำกัดอย่างไร ที่สำคัญ

           เนื่องจากหลายประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและได้นำเอารูปแบบ
           การตรวจสอบถ่วงดุลในระบบรัฐสภาแบบประเทศอังกฤษมาปรับใช้ ก็ได้มีการปรับ
           รูปแบบการตรวจสอบถ่วงดุลในระบบรัฐสภา จึงได้เกิดแนวคิดใหม่ในการสร้างกลไก

           การตรวจสอบถ่วงดุล โดยในส่วนนี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึง (1) สาระสำคัญของหลักการ
           แบ่งแยกการใช้อำนาจ และ (2) การสร้างกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่าง
           ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารตามหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจ จากนั้นจะขอ

           กล่าวถึงแนวความคิดที่เกิดขึ้นในยุคหลังจากที่มีการนำระบบรัฐสภาของประเทศ
           ต้นแบบไปปรับใช้ นั่นคือ (3) แนวคิดเกี่ยวกับระบบรัฐสภาที่ทำให้มีเหตุผลขึ้น
           และ (4) แนวคิดเกี่ยวกับเสถียรภาพรัฐบาล


           2.1
สาระสำคัญของหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจ



                 ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจเป็นเรื่องที่มีการถกเถียง
           และอภิปรายมาอย่างยาวนาน ซึ่งประเทศที่นำเอาหลักการดังกล่าวไปปรับใช้และสร้าง
           ระบบการปกครองได้อย่างใกล้เคียงกับแนวคิดทฤษฎีดังกล่าวมากที่สุดคือการสร้าง

           การปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดีซึ่งกำหนดให้ฝ่ายบริหารและ
           ฝ่ายนิติบัญญัติมีที่มาที่แยกออกจากกันและใช้อำนาจตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
           อย่างไรก็ตาม  เมื่อมีการมองการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาแล้ว

           โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษซึ่งถือเป็นต้นแบบของระบบรัฐสภา
           ในโลก ก็จะยิ่งเกิดการถกเถียงว่ารูปแบบการปกครองดังกล่าวนั้น สอดคล้องกับ
           หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจหรือไม่ 2


                 ทั้งนี้ หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจได้เคยถูกกล่าวถึงโดยจอห์น ลอค (John
           Locke) ซึ่งกล่าวถึงการประนีประนอมในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจของรัฐสภาและ
           พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อังกฤษ (Prerogative Power) และได้เสนอว่า



                  2  Roger Masterman, 2011 The Separation of Power in Contemporary Constitution :
           Judicial Competence and Independence in the United Kingdom, UK : Cambridge University
           Press, p.9
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30