Page 20 - kpiebook66024
P. 20
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
การบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารโดยฝ่ายนิติบัญญัติ แต่จะมีปัญหาเกี่ยวกับ
ความมีเสถียรภาพของรัฐบาลเป็นสำคัญ กล่าวคือ รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งมักไม่อยู่
จนครบวาระที่รัฐธรรมนูญกำหนด ด้วยเหตุนี้ โจทย์เกี่ยวกับการสร้างความมี
เสถียรภาพของรัฐบาลซึ่งเชื่อว่าจะนำไปสู่การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองจึงกลายเป็น
สิ่งสำคัญ การยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงมุ่งเน้น
ไปที่การสร้างระบบรัฐสภาและสร้างกลไกที่จะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและได้นำ
หลักการบางประการของรัฐธรรมนูญประเทศฝรั่งเศสฉบับสาธารณรัฐที่ 5
(ค.ศ. 1958) มาปรับใช้ นั่นคือ การกำหนดให้รัฐมนตรีจะต้องไม่เป็นสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร ส่วนบทบัญญัติที่กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องสังกัด
พรรคนั้น ยังคงไว้ตามเดิม
ทั้งนี้ ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการความมีเสถียรภาพของรัฐบาลได้กลายเป็นโจทย์
ที่เป็นลำดับรองไปหลังการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2544 เมื่อทักษิณ ชินวัตร ได้รับเลือกเป็น
นายกรัฐมนตรี และสามารถดำรงตำแหน่งได้จนครบวาระ หากแต่ในการเลือกตั้ง
พ.ศ. 2548 พรรคไทยรักไทยซึ่งนำโดยทักษิณ ชินวัตร ก็ได้รับเลือกตั้งเป็น
เสียงข้างมากในรัฐสภาอีกครั้ง และส่งผลให้ทักษิณได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
อีกสมัยหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียงเป็น
จำนวนมาก และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภามากขึ้นขนาดทำให้พรรคฝ่ายค้าน
ไม่สามารถลงมติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้เนื่องจากมีคะแนนเสียง
ไม่พอ (เว้นเสียแต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทยเองจะร่วมลงมติขอเปิด
อภิปรายไม่ไว้วางใจด้วย ซึ่งโอกาสที่จะเป็นเช่นนั้นมีน้อยมาก หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้
เลย) และเมื่อรัฐบาลทักษิณเองได้เลือกใช้มาตรการบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อ
สิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น การตราพระราชกำหนดการบริหารราชการ
ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมีการใช้มาตรการที่ค่อนข้างรุนแรง
ในการจัดการปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการปราบปรามยาเสพติด เป็นต้น
ทำให้เกิดคำถามต่อการใช้มาตรการดังกล่าว แต่พรรคฝ่ายค้านกลับทำได้เพียงการตั้ง
กระทู้ถาม ไม่สามารถควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินด้วยกลไกอื่น ๆ ได้
การเกิดขึ้นของเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดการกลับมาตั้งคำถามเกี่ยวกับ
การตรวจสอบถ่วงดุล จนมีการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2550 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าโจทย์สำหรับการยกร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวนั้นได้เปลี่ยนจาก