Page 18 - kpiebook66024
P. 18

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา

           ฝ่ายบริหารและเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรเป็น “พวกเดียวกัน” โดยมี
           รายละเอียดที่จะกล่าวถึงในแต่ละบท ดังนี้


                 บทที่ 1 : จะเป็นการกล่าวถึงระเบียบวิธีวิจัย โดยกล่าวถึงหลักการและเหตุผล
           ของการศึกษาวิจัยนี้ ว่าเกิดจากการปรับใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบ
           รัฐสภาแบบประเทศอังกฤษ โดยระบอบการปกครองลักษณะนี้ถูกบัญญัติขึ้นตั้งแต่

           การประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรสยาม
           พุทธศักราช 2475 และบัญญัติเช่นนั้นเรื่อยมาจนปัจจุบัน หากแต่การพัฒนาการของ
           ระบบดังกล่าวในประเทศไทยทำให้เห็นช่องว่างสำคัญ คือ การกำหนดให้ประมุขของ

           ฝ่ายบริหารมาจากเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ฝ่ายบริหารอยู่ได้ด้วย
           ความไว้วางใจของรัฐสภา การกำหนดที่มาของประมุขฝ่ายบริหารดังกล่าว ก็ทำให้
           เสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎร และฝ่ายบริหารมาจากพวกเดียวกัน ส่งผลให้

           อาจไม่สามารถควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินได้ในความเป็นจริง ตลอดจนชี้ให้เห็น
           ถึงคำถามสำคัญในการวิจัยที่งานวิจัยฉบับนี้มุ่งหาคำตอบด้วย

                 บทที่ 2 : จะเป็นการกล่าวถึงแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง โดยทฤษฎี

           ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกลไกดังกล่าว คือ ทฤษฎีการแบ่งแยกการใช้อำนาจ
           (Separation of Powers) ของ Monterquieur ซึ่งแม้ว่าการกำเนิดขึ้นของทฤษฎี
           โดยนักปราชญ์ดังกล่าวจะเกิดจากความเข้าใจผิดต่อระบบและกลไกทางการเมือง

           การปกครองของประเทศอังกฤษก็ตาม แต่ทฤษฎีดังกล่าวก็ได้รับการยอมรับและถูกนำ
           ไปบัญญัติในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร
           ฉบับแรกของโลก อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของระบบการปกครองภายใต้ระบอบ

           ประชาธิปไตยทั้งสองรูปแบบ คือ ระบบรัฐสภา และระบบประธานาธิบดี ซึ่งมี
           ความแตกต่างกันในเรื่องที่มาของฝ่ายบริหารและส่งผลต่อการควบคุมการบริหาร
           ราชการแผ่นดิน ส่งผลให้เกิดการถกเถียง ตลอดจนหลายประเทศได้ปรับกลไก

           การปกครองให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของประเทศตนเองจนเสมือนว่าได้เกิด
           การสร้างระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidentialism) ขึ้นในหลายประเทศ
           และแต่ละประเทศก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเมือง

           ของประเทศตน

                 จากนั้นในบทนี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงระบบรัฐสภาในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็น
           ต้นแบบของระบบรัฐสภาในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เห็นมุมมองต่อหลักการแบ่งแยก
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23