Page 15 - kpiebook66024
P. 15
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
เป็นคนเดียวกัน และฝ่ายบริหารไม่ได้มาจากฝ่ายนิติบัญญัติ ด้วยเหตุนี้ ในระบบ
ประธานาธิบดี ประธานาธิบดีก็ไม่สามารถยุบสภาได้ และฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่สามารถ
ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของประธานาธิบดีได้
ต่อมา การปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็ได้ถูกนำไปใช้ในหลายประเทศ
บางประเทศเลือกใช้ระบบรัฐสภาเหมือนอย่างประเทศอังกฤษ และบางประเทศก็เลือก
ใช้ระบบประธานาธิบดีอย่างสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศเหล่านั้น
จะเขียนรัฐธรรมนูญโดยวางกลไกที่เหมือนกับทั้งสองประเทศ แต่ด้วยบริบทที่แตกต่างกัน
ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เช่น กรณีของประเทศฝรั่งเศสซึ่งนำระบบรัฐสภา
แบบประเทศอังกฤษมาใช้ แต่ก็ต้องประสบปัญหากับการขาดเสถียรภาพของฝ่าย
บริหาร จนนำไปสู่การปรับรูปแบบกลายเป็นระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี โดยให้
ฝ่ายบริหารมีทั้งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี และให้รัฐสภาสามารถอภิปราย
ไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ แต่ไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจประธานาธิบดีได้
เพื่อให้การดำเนินนโยบายมีความต่อเนื่อง ที่สำคัญ หลังการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ใน ค.ศ. 2008 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเกี่ยวกับกลไกการใช้อำนาจบางประการ
เพื่อให้ฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การกำหนดให้สมาชิกรัฐสภาที่ได้รับ
แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีต้องลาออกจากการเป็นสมาชิกรัฐสภา หรือการกำหนดให้
ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตรากฎหมายได้เพียงบางเรื่องเท่านั้น เป็นต้น หรืออย่างกรณีของ
ประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาซึ่งเลือกใช้ระบบประธานาธิบดีเหมือนอย่างสหรัฐอเมริกา
ก็ได้ประสบปัญหาในการบริหารราชการแผ่นดิน กล่าวคือ หลายประเทศในลาตินอเมริกา
มีพรรคการเมืองหลายพรรค ไม่ได้มีสองพรรคเหมือนอย่างสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ช่วง
ค.ศ. 1960-1970 ได้เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้น เนื่องจากฝ่ายนิติบัญญัติและ
ฝ่ายบริหารมีที่มาที่แตกต่างกัน จึงมีหลายครั้งที่ประธานาธิบดีขาดเสียงข้างมากในรัฐสภา
และไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินอย่างราบรื่นได้ อีกทั้งระบบประธานาธิบดี
ก็ออกแบบมาให้ต่างฝ่ายต่างทำให้อีกฝ่ายพ้นจากตำแหน่งไม่ได้แม้ว่าจะเกิดการไม่เห็น
พ้องต้องกันอย่างมาก ทำให้หลายประเทศในลาตินอเมริกาปรับกลไกความสัมพันธ์
ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติโดยไม่ให้แยกจากกันอย่างเด็ดขาดมากจนเกิน
ไปเหมือนระบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ส่วนประเทศไทยเองนั้น ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 (รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540) บริบทการเมืองไทยถือว่าประสบปัญหา