Page 19 - kpiebook66024
P. 19

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา

           การใช้อำนาจที่กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ แม้ว่าประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
           จะยึดถือหลักดังกล่าว และเชื่อว่าการแบ่งแยกการใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร

           และอำนาจตุลาการไปไว้กับองค์กรที่ต่างกันจะทำให้เกิดการใช้อำนาจในลักษณะที่
           เป็นการใช้ “อำนาจยับยั้งอำนาจ” ซึ่งจะป้องกันไม่ให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ
           จนก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนก็ตาม แต่ก็ไม่มีประเทศใดปรับใช้

           ทฤษฎีดังกล่าวในลักษณะของทฤษฎีบริสุทธิ์ (Pure Theory) แต่ก็มีการปรับหลัก
           ดังกล่าวให้เหมาะสมกับบริบททางการเมืองของตนทั้งสิ้น โดยการชี้ให้เห็นถึงลักษณะ
           ระบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษที่เป็นต้นแบบของระบบรัฐสภาในประเทศไทย กับทฤษฎี

           ดังกล่าว จะทำให้เห็นมุมมองต่อการตีความทฤษฎีดังกล่าว และการปรับใช้ที่มากยิ่งขึ้น

                 บทที่ 3 : จะเป็นการกล่าวถึงระบบรัฐสภาในประเทศไทยที่เคยบัญญัติ
           ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดกลไกของ

           ระบบรัฐสภาที่ส่งผลต่อการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
           โดยจะชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดมาตลอดว่า
           ต้องให้ประมุขของฝ่ายบริหาร (นายกรัฐมนตรี) มาจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมองใน

           มุมหนึ่ง ก็คือ เมื่อฝ่ายบริหารมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารจึงต้องอยู่ได้ด้วย
           ความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจควบคุมการบริหาร
           ราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร เช่น การตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการขอ

           อภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ในขณะเดียวกัน การกำหนดที่มาของฝ่ายบริหารดังกล่าว
           ก็เท่ากับว่าฝ่ายบริหารกับเสียงข้างมากของรัฐสภาเป็นพวกเดียวกัน ซึ่งก่อให้เกิด
           คำถามได้ว่า จะสามารถตรวจสอบถ่วงดุลหรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

           ในความเป็นจริงได้หรือไม่

                 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
           พุธศักราช 2517 ได้เกิดแนวคิดในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่พรรคการเมือง เพื่อให้

           พรรคการเมืองมีลักษณะเป็นสถาบันทางการเมืองที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และกลายเป็นสถาบัน
           ทางการเมือง “ตั้งต้น” ที่จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างประชาชนกับสถาบันที่ใช้อำนาจ
           ทางการเมืองอย่างรัฐสภา จึงได้เกิดการบัญญัติให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้อง

           สังกัดพรรคการเมือง จึงจะสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนการ
           ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 การจัดตั้งรัฐบาล
           ในประเทศไทยจะมีลักษณะเป็นรัฐบาลผสม จึงไม่ค่อยเกิดคำถามเกี่ยวกับการควบคุม
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24