Page 22 - kpiebook66024
P. 22
10
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
พรรคการเมืองนั้นมา ซึ่งเท่ากับขัดต่อหลักของประชาธิปไตย ดังนั้น ในส่วนของ
การศึกษากรณีศึกษาต่างประเทศนี้ จึงต้องคำนึงถึงประเด็นดังกล่าว โดยสามารถ
แบ่งการสร้างกลไกตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารในต่างประเทศได้ ดังนี้
1) การสร้างการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารโดยใช้กลไกอย่างอื่นหรือองค์กร
อย่างอื่น และให้สมาชิกรัฐสภาเสียงข้างน้อยสามารถนำประเด็นที่ต้องการตรวจสอบ
เข้าสู่การตรวจสอบโดยกลไกหรือองค์กรนั้นได้ เช่น การกำหนดให้มีศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญขององค์กรใต้รัฐธรรมนูญ (ซึ่งรวมถึงฝ่ายบริหาร
และฝ่ายนิติบัญญัติด้วย) หรือการใช้กลไกเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ โดยให้
สมาชิกรัฐสภาเสียงข้างน้อยสามารถนำประเด็นที่สำคัญที่ต้องการคืนอำนาจให้
ประชาชนตัดสินใจนั้น ไปขอให้มีการออกเสียงประชามติ ซึ่งกรณีศึกษาต่างประเทศ
ที่มีการใช้กลไกเหล่านี้ ผู้เขียนจะขอศึกษาถึงกระบวนการ และขอบเขตของประเทศ
ที่จะสามารถนำเรื่องเข้าสู่การตรวจสอบโดยกลไกหรือองค์กรนั้นได้
2) การสร้างการตรวจสอบถ่วงดุลภายในรัฐสภาเอง ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบ
โดยฝ่ายการเมือง นั่นก็คือ การสร้างระบบให้มีการตรวจสอบและใช้การตัดสินใจ
ที่เป็นประชาธิปไตยภายในพรรคการเมืองเอง และการสร้างกลไกที่เอื้อต่อการให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารได้ แม้ว่าจะเป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเดียวกับฝ่ายบริหารก็ตาม
บทที่ 5 : บทสรุปและข้อเสนอแนะสำหรับกรณึของประเทศไทย ซึ่งจะไม่
เกินเลยไปถึงการกำหนดระบบการเลือกตั้งใหม่ หรือระบบการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยในรูปแบบใหม่ซึ่งทำให้การตรวจสอบถ่วงดุลทำได้อย่างกว้างขวาง
มากกว่านี้ เพราะผู้เขียนเห็นว่าผิดธรรมชาติของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ที่ยึดถือเสียงของประชาชนเป็นสำคัญ