Page 27 - kpiebook66024
P. 27

1
 การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


                 กรณี (เช่นนี้) จะไม่มีเสรีภาพเช่นกัน ถ้าอำนาจในการตัดสินคดีไม่แยกออก
           จากอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร ถ้าอำนาจนี้รวมเข้ากับอำนาจนิติบัญญัติ
           อำนาจเหนือชีวิต และเสรีภาพของราษฎรจะถูกใช้อย่างลำเอียง เนื่องจากผู้พิพากษา

           จะเป็นผู้บัญญัติกฎหมาย ถ้าอำนาจนี้รวมเข้ากับอำนาจบริหาร ผู้พิพากษาจะมี
           อำนาจอย่างกดขี่

                 ทุกสิ่งจะถึงแก่การอวสาน หากบุคคลเดียวกันหรือคณะบุคคลที่เป็น

           หลักสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นของคณธขุนนางหรือประชาชน ได้ใช้อำนาจทั้งสาม อำนาจ
           การออกกฎหมาย อำนาจนำมติของประชาชนไปปฏิบัติ และอำนาจในการตัดสินคดี
           อาญาหรือกรณีพิพาทของเอกชน”    5



                 ทั้งนี้ M.C.J. Vile ในงานเขียนเรื่อง “Constitutionalism and the
           Separation of Powers” ได้กล่าวถึงการแบ่งแยกการใช้อำนาจในมุมของหลักการ
           ที่บริสุทธิ์ (Pure Doctrine) ว่าหลักการดังกล่าวได้ให้ความสำคัญกับการสร้างอิสระ

           ทางการเมือง (Political liberty) ว่าในการปกครองนั้น จะต้องแยกออกเป็น
           สามอำนาจหรือสามส่วน คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ และแต่ละ

           ส่วนนั้นจะต้องใช้อำนาจในการทำหน้าที่ของตนเอง และไม่สามารถก้าวล่วงการใช้
           อำนาจของอีกฝ่ายได้เลย นอกจากนี้ บุคคลที่ใช้อำนาจทั้งสามนี้ จะต้องยกออกจากกัน
           อย่างสิ้นเชิง ที่สำคัญ ไม่มีใครสามารถดำรงตำแหน่งที่ใช้อำนาจดังกล่าวได้เกิน
           หนึ่งตำแหน่งในเวลาเดียวกัน และเมื่อเป็นเช่นนี้ แต่ละองค์กรก็จะทำหน้าที่ตรวจสอบ

           และควบคุมซึ่งกันและกัน 6

                 จากที่กล่าวข้างต้น การปรับใช้หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจที่เคร่งครัด
           ดังกล่าวได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีปัญหาในการปฏิบัติจริง เพราะถ้าหากมองในแง่ของ

           การปฏิบัติแล้ว ถ้าหากแยกอำนาจทั้งสามส่วนออกจากกันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะ
           อย่างยิ่งอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร ก็อาจทำให้เกิดปัญหาในการบริหาร

           ราชการแผ่นดินได้ ดังนั้น การปรับใช้หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจในลักษณะที่เป็น
           หลักการบริสุทธิ์ดังกล่าวจึงแทบเป็นไปไม่ได้เลย และยิ่งถ้าหากพิจารณาระบบรัฐสภา


                  5  ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์, 2540, กฎมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง, กรุงเทพฯ :
           สื่อปัญญา หน้า 33 (ความในวงเล็บ เติมโดยผู้เขียนเอง)
                  6  Roger Masterman, ibid, p. 11
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32