Page 30 - kpiebook66024
P. 30
1
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
ยังไม่ได้ทำงานจริง ซึ่งอาจไม่ยุติธรรมกับฝ่ายรัฐบาลเอง ดังนั้น จึงเป็นแต่เพียงให้
รัฐสภาสามารถอภิปรายได้เมื่อมีการแถลงนโยบาย
(2) การกำหนดมาตรการให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถควบคุมการบริหาร
ราชการแผ่นดินได้
กลไกการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีมาแต่ดั้งเดิม
ได้แก่ การกำหนดให้สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตั้งกระทู้ถามรัฐบาลโดยจะถาม
นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่รับผิดชอบก็ได้ เพื่อให้มาตอบข้อสงสัยในการบริหาร
ราชการแผ่นดิน และการตั้งกระทู้ถามนี้ ก็ยังเป็นการบังคับให้ฝ่ายบริหารต้องเปิดเผย
ข้อมูลในการบริหารราชการแผ่นดินให้ประชาชนทราบ และนอกจากการตั้งกระทู้ถามนี้
ก็ยังมีกลไกที่ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถทำให้ฝ่ายบริหารพ้นจากตำแหน่งได้ คือ
การเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งแม้ในระบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารจะมาจาก
เสียงข้างมากในรัฐสภาอยู่แล้ว ส่งผลให้การลงมติไม่ไว้วางใจอาจจะไม่ค่อยส่งผลให้ฝ่าย
บริหารต้องพ้นจากตำแหน่ง แต่การเปิดข้อมูลในช่วงที่มีการอภิปรายก็ส่งผล
ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล และมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่า จะเลือกบุคคล
ดังกล่าวเข้าดำรงตำแหน่งอีกหรือไม่
(3) การกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถอนุมัติเงินงบประมาณของ
ฝ่ายบริหาร
แม้ว่าฝ่ายบริหารจะเป็นองค์กรเดียวที่มีอำนาจเสนอร่างกฎหมาย
งบประมาณ แต่รัฐธรรมนูญของหลายประเทศก็จะกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็น
ตัวแทนของประชาชนเป็นผู้อนุมัติงบประมาณ
(4) การให้ฝ่ายนิติบัญญัติตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบการทำงาน
ของฝ่ายบริหารว่าเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่
= การถ่วงดุลฝ่ายนิติบัญญัติโดยฝ่ายบริหาร โดยมีกลไกสำคัญ ได้แก่
(1) กำหนดให้ฝ่ายบริหารสามารถยุบฝ่ายนิติบัญญัติได้
การยุบสภาถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ฝ่ายบริหารจะใช้ควบคุม
ฝ่ายนิติบัญญัติได้ในกรณีที่เห็นว่าอาจขัดแย้งกับฝ่ายนิติบัญญัติจนไม่สามารถบริหาร
ราชการแผ่นดินได้อีกต่อไป ก็อาจกำหนดให้มีการยุบสภาเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่