Page 33 - kpiebook66024
P. 33
1
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
12
ภายในเวลา 65 ปี ดังนั้น ในการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง
ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร จึงจำเป็นต้องกล่าวถึงแนวคิดเรื่องเสถียรภาพของ
รัฐบาล
2.4
แนวคิดเกี่ยวกับเสถียรภาพรัฐบาล
ในส่วนของประเด็นที่เกี่ยวกับเสถียรภาพของรัฐบาลนี้ ชาติชายได้ชี้ให้เห็น
ความแตกต่างของการมี “เสถียรภาพรัฐบาล” และการมี “เสถียรภาพทางการเมือง”
โดยเมื่อกล่าวถึงคำว่า “เสถียรภาพของรัฐบาล” ย่อมหมายถึง
“การที่รัฐบาลสามารถบริหารประเทศไปได้อย่างราบรื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งปกติก็คือ ครบวาระของรัฐบาลแต่ละชุด”
13
ขณะเดียวกัน คำว่า “เสถียรภาพทางการเมือง” หมายถึง “สภาพทาง
การเมืองที่มีความสงบราบรื่น มีการเคารพและปฏิบัติตามกฎ กติกาทางการเมือง
14
และการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเป็นไปตามกติกา” ด้วยเหตุนี้ ในประเทศหนึ่ง ๆ
จึงอาจเกิดปรากฏการณ์ที่รัฐบาลมีเสถียรภาพ นั่นคือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อย
แต่รัฐบาลนั้นเป็นรัฐบาลที่มีที่มาที่ประชาชนไม่ยอมรับ ซึ่งถือว่าประเทศนั้น
ขาดเสถียรภาพทางการเมือง และในขณะเดียวกัน ประเทศหนึ่ง ๆ อาจมี
การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยครั้ง แต่การเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามกฎกติกา นั่นเท่ากับ
ว่าประเทศนั้นขาดเสถียรภาพรัฐบาล แต่มีเสถียรภาพทางการเมือง เป็นต้น
นอกจากนี้ ชาติชายยังได้พยายามอธิบายข้อดีของการมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ
โดยการมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพจะทำให้เกิดการวางนโยบายในระยะยาว ความต่อเนื่อง
ในการดำเนินนโยบายและความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน ที่สำคัญรัฐบาล
ที่มีเสถียรภาพยังก่อให้เกิดความมั่นใจต่อข้าราชการที่ต้องปฏิบัติตามนโยบาย
ของรัฐบาล ความมั่นใจต่อภาคเอกชนที่จะเข้ามาลงทุนเพราะจะทำให้ภาคเอกชน
12 Goguel, François. “Political Instability in France.” Foreign Affairs, vol. 33, no. 1, 195
4, pp. 111–22. JSTOR, https://doi.org/10.2307/20031079. Accessed 10 oct. 2022.
13 ชาติชาย ณ เชียงใหม่. เรื่องเดียวกัน หน้า 32
14 ชาติชาย ณ เชียงใหม่. เรื่องเดียวกัน หน้า 32 (เน้นโดยผู้เขียนเอง)