Page 38 - kpiebook66024
P. 38
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงมีรูปแบบของระบบรัฐบาล (System of Government)
เป็นระบบรัฐสภา (Parliamentary System) ซึ่งเป็นระบบที่กำหนดให้ประมุขแห่งรัฐ
(Head of State) เป็นคนละคนกับประมุขของฝ่ายบริหาร (Head of Government)
ซึ่งต่างจากระบบประธานาธิบดีแบบสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้ประมุขแห่งรัฐ
และประมุขของฝ่ายบริหารต้องเป็นคนเดียวกัน รูปแบบของระบบรัฐบาลไทยจึงมี
18
ความคล้ายคลึงกับรูปแบบของระบบรัฐบาลในประเทศอังกฤษซึ่งมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุขแห่งรัฐเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นั้น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแทบทุกฉบับจะวางโครงสร้างของความสัมพันธ์
ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารที่เหมือนกันและเหมือนกับระบบรัฐสภาของ
ประเทศอังกฤษ นั่นคือ นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประมุขของฝ่ายบริหารนั้น จะต้องได้รับ
เลือกจากรัฐสภา (ซึ่งในขณะที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
พ.ศ. 2475 นั้น มีสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว และแม้ภายหลังจะมีการกำหนด
ให้รัฐสภาประกอบด้วยสองสภาก็ตาม แต่ก็ยังกำหนดให้เฉพาะสภาผู้แทนราษฎร
เท่านั้นที่เป็นองค์กรที่เลือกนายกรัฐมนตรี ) และรัฐธรรมนูญก็ยังได้กำหนดไว้
19
ตลอดมาว่า ในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น คณะรัฐมนตรีจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วย
20
ความไว้วางใจของรัฐสภา และด้วยเหตุนี้เอง รัฐสภาจึงมีอำนาจในการควบคุม
การบริหารราชการแผ่นดินได้โดยสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจตั้งกระทู้ถาม หรือลงมติ
22
21
ไม่ไว้วางใจ และในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็สามารถยุบสภาผู้แทนราษฎรได้
ที่สำคัญรัฐธรรมนูญที่มีการประกาศใช้ทุกฉบับก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นั้น ได้กำหนดให้ในกรณีที่สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ก็ไม่ต้องลาออกจากการเป็นสมาชิก
23
สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งการกำหนดเงื่อนไขลักษณะนี้เหมือนกับระบบรัฐสภาในประเทศ
18 วิษณุ เครืองาม, 2523, กฎหมายรัฐธรรมนูญ, กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์นิติบรรณการ หน้า 194
19 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2489 มาตรา 66
20 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง
21 มาตรา 70
22 มาตรา 32
23 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มาตรา 49