Page 40 - kpiebook66024
P. 40

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           พบว่าในช่วงเวลาดังกล่าวมีการขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจก็จริง
           แต่ก็ไม่มีการลงมติไม่ไว้วางใจครั้งใดเลยที่สามารถทำให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งได้
           แต่ในส่วนของการเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนี้ พบว่า มีหลายครั้งที่

           นายกรัฐมนตรีตัดสินใจยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่เมื่อมีการยื่นญัตติขอเปิด
           อภิปรายไม่ไว้วางใจ ทั้งในสมัยรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ และในสมัย
           ของนายชวน หลีกภัย  27


                 อย่างไรก็ตาม การกำหนดรูปแบบของระบบรัฐสภาดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดปัญหา
           ต่อระบบการเมืองการปกครองของประเทศไทย โดยปัญหาที่สำคัญคือ
           ความมีเสถียรภาพของรัฐบาล ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้ผู้สมัครเป็นสมาชิก

           สภาผู้แทนราษฎรจะต้องสังกัดพรรคการเมือง ทำให้เกิดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอิสระ
           เป็นจำนวนมาก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอิสระนี้ ก็มักจะรวมตัวกันเพื่อต่อรอง
           ผลประโยชน์กับรัฐบาล ทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองเนื่องจากรัฐบาลเอง

           ก็ไม่สามารถคุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอิสระเหล่านี้ได้ ส่งผลให้รัฐบาล
           ขาดเสถียรภาพในที่สุด ดังจะเห็นได้จากกรณีที่มีการยุบสภาบ่อยครั้ง และในหลายกรณี
           ก็เกิดความวุ่นวายทางการเมืองจนนำไปสู่การก่อรัฐประหารในที่สุด  ด้วยเหตุนี้ เมื่อมี
                                                                    28
           การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 จึงบังคับให้
           ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องสังกัดพรรคการเมือง อันเนื่องมาจาก
           แนวความคิดที่ว่า ถ้าหากพรรคการเมืองเข้มแข็งแล้ว พรรคการเมืองใดที่ชนะการเลือกตั้ง

           โดยได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรก็จะได้จัดตั้งรัฐบาล และรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้น
           บนพื้นฐานพรรคการเมืองที่เข้มแข็งนี้ ก็จะทำให้รัฐบาลเข้มแข็งมากขึ้นและสามารถ
           บริหารราชการแผ่นดินได้อย่างมีเสถียรภาพเนื่องจากสามารถควบคุมสมาชิกสภา

           ผู้แทนราษฎรได้ผ่านระบบพรรคการเมือง  โดยมีการบัญญัติดังต่อไปนี้
                                              29




                 27  ตระกูล มีชัย และชมพูนุท ตั้งถาวร, เรื่องเดียวกัน หน้า XIV
                 28  iLaw, สรุปรัฐธรรมนูญ 2560 : ให้เอกสิทธิ์งูเห่า ลดบทบาทพรรคคุม ส.ส., สืบค้นเมื่อวันที่ 1
           มิถุนายน 2565 จาก https://ilaw.or.th/node/5536?fbclid=IwAR24IBVy2TKAFmNvntSDpzeo
           fdPEQI5JkHuMmmmboduAE5KZO0oOzzcI7V0

                 29  มนตรี รูปสุวรรณ และคณะ, ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารและ
           เสถียรภาพของรัฐบาล, สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.kpi-lib.com/multim/
           research/11/b4341(7).pdf
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45