Page 42 - kpiebook66024
P. 42
0
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
ก็ย่อมทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีโอกาสตัดสินใจแตกต่างจากมติของ
พรรคการเมืองน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากเจตนารมณ์ของประชาชนขัดแย้ง
กับเจตนารมณ์ของพรรคการเมืองอย่างชัดเจนแล้ว เช่น กรณีที่ประชาชนไม่พอใจกับ
การทำงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเรื่องหนึ่ง ๆ ในขณะที่พรรคการเมืองที่สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรคนนั้นมีมติให้ไว้วางในรัฐบาลต่อไป ถ้าหากเกิดการเปิดอภิปรายเพื่อ
ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลขึ้น ก็ไม่มีอะไรรับประกันได้เลยว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนนั้น จะลงมติไปในทางที่ยึดถือเจตนารมณ์ของประชาชน
ยิ่งกว่าเจตนารมณ์ของพรรคตนเอง เพราถ้าหากถูกขับออกจากพรรค ก็มีโอกาสที่จะ
พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
3.2
ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
ในระบบรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช
2540
ในการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นั้น
ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ถูกยกร่างขึ้นภายใต้บริบททางการเมืองที่ประชาชนต้องการปฏิรูป
ระบบการเมืองในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแก้ปัญหาเรื่องการทุจริตของ
ฝ่ายการเมือง ในขณะเดียวกัน ก็มีการเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างระบบ
การเมืองที่มีเสถียรภาพด้วย อย่างไรก็ตาม ภายหลังเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 ได้ถูกยกเลิกไป และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงในประเด็นที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์
ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารหลายประการ โดยมีประเด็นที่สำคัญ
3.2.1
การกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังคงต้องสังกัดพรรคการเมือง
ตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 เป็นต้นมา รัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดไว้เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรจะต้องสังกัดพรรคการเมือง และการถูกขับออกจากพรรคการเมือง