Page 44 - kpiebook66024
P. 44

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           ฉบับก่อน ๆ ที่บัญญัติไว้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการบัญญัติกลไกเช่นนี้ในรัฐธรรมนูญ
           ฉบับปัจจุบันจะมีลักษณะที่อาจทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอิสระจาก
           พรรคการเมืองของตนมากขึ้นบ้างในกรณีที่ถูกขับออกจากพรรค แต่การบัญญัติเจาะจง

           บังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องสังกัดพรรคก็ยังคงเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า
           อาจทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขาดอิสระได้


           
     
3.2.2

การกำหนดให้รัฐมนตรีจะต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภา

                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นับเป็น
           รัฐธรรมนูญฉบับแรกและฉบับเดียวที่กำหนดให้สมาชิกรัฐสภาไม่สามารถดำรงตำแหน่ง

           รัฐมนตรีในเวลาเดียวกันได้ ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา ทั้งนี้
           สมคิด เลิศไพฑูรย์ ได้สรุปเหตุผลสำคัญที่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวไม่ต้องการให้
           ฝ่ายบริหารดำรงตำแหน่งในฝ่ายนิติบัญญัติในขณะเดียวกันไว้ ดังนี้



                       “1) บทบาทของฝ่ายบริหารและบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติ
           เป็นบทบาทที่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน
           ในขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น

           ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะเดียวกัน
           ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลดังกล่าวจะทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะที่เป็นผู้ควบคุม
           การบริหารราชการแผ่นดิน

                       2) เป็นที่ทราบกันดีว่าฝ่ายนิติบัญญัติในประเทศไทยตรากฎหมาย
           ได้น้อยมากในแต่ละปี แม้จะมีสาเหตุหลายประการก็ตาม แต่เหตุผลหนึ่งก็คือ
           ฝ่ายนิติบัญญัติในประเทศไทยไม่ได้ให้ความสนใจต่อการตรากฎหมายเท่าที่ควร

           ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมักให้ความสนใจกับการตรากฎหมาย
           ค่อนข้างน้อย แต่เน้นหนักความสนใจของตนเองไปที่การเป็นฝ่ายบริหารมากกว่า
           การห้ามมิให้ฝ่ายบริหารดำรงตำแหน่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติในขณะเดียวกันจึงเท่ากับ

           ทำให้ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติสามารถทุ่มเทการทำงานของตนได้อย่างเต็มที่
           สอดคล้องกับหลักการ “แยกงานกันทำ” เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ
           เป็นส่วนรวม
                       3) การให้ฝ่ายนิติบัญญัติดำรงตำแหน่งเป็นฝ่ายบริหารได้ยังเป็น

           ช่องทางให้มีการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นรัฐมนตรี เพราะสมาชิก
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49