Page 43 - kpiebook66024
P. 43
1
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
ก็ถือว่ามีผลต่อความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเช่นกัน แต่อาจจะมีรายละเอียดและ
มีเงื่อนไขบางประการที่มีลักษณะผ่อนให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับผลกระทบนั้น
32
มีอิสระมากยิ่งขึ้น ดังนี้
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 : กำหนดให้ผู้สมัคร
รับเลือกตั้งจะต้องสังกัดพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งก่อนวันสมัคร
รับเลือกตั้งอย่างน้อย 90 วัน และในกรณีที่ถูกขับออกจากพรรคการเมือง
ด้วยมติสามในสี่ของที่ประชุมร่วมกันของคณะกรรมการบริหาร
พรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็จะต้องพ้นจากสมาชิกสภาพ
เว้นแต่จะอุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญ
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 : กำหนดให้ผู้สมัคร
รับเลือกตั้งจะต้องสังกัดพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งก่อนวันเลือกตั้ง
อย่างน้อย 90 วัน เว้นแต่กรณีที่มีการเลือกตั้งอันเนื่องมาจากการยุบสภา
รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องสังกัดพรรคการเมืองภายใน 30 วัน ก่อนถึงวัน
เลือกตั้ง และในกรณีที่ถูกขับออกจากพรรคการเมืองด้วยมติสามในสี่ของ
ที่ประชุมร่วมกันของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร ก็จะต้องพ้นจากสมาชิกสภาพเว้นแต่จะอุทธรณ์ต่อ
ศาลรัฐธรรมนูญ
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน : กำหนดให้ผู้สมัคร
รับเลือกตั้งจะต้องสังกัดพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งก่อนวันเลือกตั้ง
อย่างน้อย 90 วัน เว้นแต่กรณีที่มีการเลือกตั้งอันเนื่องมาจากการยุบสภา
รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องสังกัดพรรคการเมืองภายใน 30 วัน ก่อนถึง
วันเลือกตั้ง และในกรณีที่ถูกขับออกจากพรรคการเมืองด้วยมติสามในสี่ของ
ที่ประชุมร่วมกันของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร ก็จะต้องพ้นจากสมาชิกสภาพเว้นแต่สามารถหาพรรคใหม่
สังกัดได้ภายใน 30 วัน
ทั้งนี้ ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลาออกจากพรรคการเมืองเองนั้น
จะส่งผลให้พ้นจากความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ
32 iLaw, เรื่องเดียวกัน