Page 46 - kpiebook66024
P. 46
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
ถูกปลดออกจากฐานะรัฐมนตรี ก็ยังสามารถเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อยู่
ด้วยเหตุนี้ การกำหนดให้รัฐมนตรีจะต้องลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ก็จะทำให้รัฐมนตรีมีอำนาจต่อรองกับประมุขของฝ่ายบริหารได้น้อยลง และส่งผล
34
ให้การบริหารประเทศของประมุขของฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผลการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 ได้ส่งผลให้เกิดภาวะที่พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง
ใน พ.ศ. 2548 ด้วยคะแนนเสียงที่มากจนทำให้พรรคฝ่ายค้านซึ่งเป็นเสียงข้างน้อย
ในสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ ส่งผลให้
เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่ออำนาจการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
และเมื่อมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ไป
และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันแทน ก็ได้ส่งผลให้มีการยกเลิกกลไก
ดังกล่าวนี้ และกลับไปใช้เงื่อนไขเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ กล่าวคือ ปัจจุบัน
ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ก็สามารถดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในขณะเดียวกันได้ ซึ่งในประเด็นนี้ ผู้เขียนเห็นว่า แม้ว่าการกำหนดให้รัฐมนตรี
ต้องลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะทำให้ฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็ง
ก็จริง แต่ก็เป็นความเข้มแข็งในมุมของการทำงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งการทำงานของ
ฝ่ายบริหารก็คือการดำเนินนโยบายตามที่สัญญากับประชาชนไว้เมื่อครั้งที่มีการหาเสียง
ในขณะเดียวกัน ถ้าหากมองในมุมของการตรวจสอบถ่วงดุลนั้น การกำหนดให้
รัฐมนตรีต้องลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ยิ่งทำให้การตรวจสอบ
ถ่วงดุลมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะทำให้เกิดการแยกตำแหน่งในฝ่ายบริหารและ
ฝ่ายนิติบัญญัติออกจากบุคคลคนเดียวกันนั้นอย่างชัดเจน
ในประเด็นดังกล่าวนี้ หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้ว ก็ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก
โดยนันทวัฒน์ บรมานันท์ ได้ทำการศึกษาวิจัยและให้ความเห็นว่าควรกลับไปบัญญัติ
ห้ามรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาในเวลาเดียวกันตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เหมือนเดิม เนื่องจากการกำหนดเงื่อนไข
ดังกล่าวจะเป็นการแยกฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารออกจากกันอย่างชัดเจนซึ่งทำให้
เกิดการสร้างความเป็นผู้นำให้แก่นายกรัฐมนตรีและเป็นการสร้างเสถียรภาพ