Page 50 - kpiebook66024
P. 50
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้
ต้องใช้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดในการเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้
วางใจนายกรัฐมนตรีโดยจะต้องเสนอชื่อผู้ที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรี
คนต่อไปด้วย แต่ถ้าหากจะขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ
รัฐมนตรี จะต้องใช้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงหนึ่งในห้า
ที่สำคัญ รัฐธรรมนูญยังกำหนดให้ในกรณีที่มีการยื่นขอเปิดอภิปราย
เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีจะไม่สามารถยุบสภาได้
ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาการยุบสภาเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบและ
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินดังที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนด
ให้การยื่นญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี จะต้อง
ใช้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า แต่ถ้าหากเป็นกรณี
ขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีจะใช้เสียงสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในหก และเช่นเดียวกัน เมื่อได้มี
การเสนอญัตติแล้ว นายกรัฐมนตรีจะยุบสภาไม่ได้
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันกำหนดให้ต้องใช้เสียง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิก
ทั้งหมดในการขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือ
รัฐมนตรี และเช่นเดียวกัน เมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้ว นายกรัฐมนตรี
จะยุบสภาไม่ได้
ที่ผ่านมา ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยเคยมี
การอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีมาแล้ว
ถึง 42 ครั้ง (ไม่นับรวมกรณีที่นายกรัฐมนตรีตัดสินใจยุบสภาเมื่อมีการขอเปิด
อภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ) ซึ่งแม้ว่าจะไม่สามารถทำให้นายกรัฐมนตรีพ้นจาก
ตำแหน่งได้ เนื่องจากโดยระบบรัฐสภาแล้ว เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรจะเป็น
พวกเดียวกับรัฐบาล