Page 51 - kpiebook66024
P. 51

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


                       อย่างไรก็ตาม บางครั้งการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจก็อาจส่งผลทาง
           การเมืองอย่างอื่นต่อฝ่ายบริหารได้ที่สำคัญ ได้แก่

                       1) การอภิปรายไม่ไว้วางใจอาจส่งผลให้คะแนนนิยมของฝ่ายบริหาร

           ลดลง เช่น การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ถือเป็นการนำ
           ข้อผิดพลาดในการบริหารงานของรัฐบาลมาเปิดเผยให้ประชาชนทราบ และข้อมูล
           ที่ถูกนำมาเปิดเผยเหล่านี้ก็อาจจะกลายเป็นข้อมูลสำคัญที่ประชาชนใช้สำหรับประกอบ

           การตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

                       นอกจากนี้ ในอดีตที่ผ่านมาก็มีหลายกรณีที่มีการเลือกใช้กลไก
           การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจกดดันฝ่ายบริหารจนนำไปสู่การยุบสภาและเลือกตั้งใหม่

           และผลการเลือกตั้งใหม่ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าคะแนนนิยมของรัฐบาลเดิมนั้น
           ลดลงจนทำให้พรรคของรัฐบาลเดิมที่เคยชนะเลือกตั้งไม่ได้เสียงข้างมาก หรือไม่

           สามารถจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งใหม่ได้ เช่น ในช่วง พ.ศ. 2538 พรรคฝ่ายค้าน
           นำโดยนายบรรหาร ศิลปะอาชา ได้ขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจเรื่อง
           การจัดสรรที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ซึ่งถูกกล่าวหาว่าจัดสรรให้แก่คนรวย จนในที่สุดรัฐบาล
           นำโดยนายชวน หลีกภัย ตัดสินใจยุบสภาและส่งผลให้มีการเลือกตั้งใหม่ก่อนที่จะมี

           การลงมติ และผลจากการเลือกตั้งใหม่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้กลายเป็นแกนนำ
                             40
           ในการจัดตั้งรัฐบาล  กรณีดังกล่าวได้ทำให้เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่าแม้การเปิด
           อภิปรายไม่ไว้วางใจไม่สามารถจะทำให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งได้ แต่ก็อาจ

           ทำให้คะแนนความนิยมของฝ่ายบริหารลดน้อยลงจนอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
           ทางการเมืองอย่างการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้

                       2) การอภิปรายไม่ไว้วางใจสามารถนำไปสู่การปรับคณะรัฐมนตรี

           หรือเปลี่ยนรัฐมนตรีใหม่ได้ ทั้งนี้ แม้ว่าในบางกรณี การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
           ไม่สามารถทำให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง หรืออาจไม่สามารถนำไปสู่การยุบ
           สภาได้ แต่ก็อาจนำไปสู่การปรับคณะรัฐมนตรี หรือเปลี่ยนรัฐมนตรีบางคนได้เพื่อ

           รักษาภาพลักษณ์ของรัฐบาลหรือลดแรงกดดันจากรัฐสภา เช่น กรณีใน พ.ศ. 2551
           มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลซึ่งนำโดยนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐมนตรีอีก



                 40  Workpoint Today, ย้อนอดีต ชวน-บรรหาร ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วอยู่ไม่ได้จบด้วย
           ยุบสภา, สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564 จาก https://workpointtoday.com/mp-14/
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56