Page 55 - kpiebook66024
P. 55
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
ยิ่งกว่านั้น ในกรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งเรียกไม่มาตามคำสั่งเรียก กฎหมาย
ฉบับเดียวกันได้บัญญัติให้ต้องมีโทษทางอาญา และมีความผิดทางวินัยด้วย
โดยบัญญัติในมาตรา 13 ดังนี้
“ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สามเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นข้าราชการ พนักงาน หรือ
ลูกจ้างของหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ถือว่าเป็นความผิดทางวินัยด้วย”
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 ขึ้น และได้มีการกำหนดประเด็นเกี่ยวกับการใช้อำนาจแสวงหา
ข้อเท็จจริงของคณะกรรมาธิการในรัฐสภาไว้เช่นกัน แต่ในมาตรา 129 ที่ได้บัญญัติ
เรื่องดังกล่าวนั้น ได้บัญญัติในลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้
“ในการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอำนาจหรือ
มอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทำการแทนมิได้
คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งมีอำนาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด
หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือ
ในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้น
มิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจในกระบวน
วิธีพิจารณาพิพากษาอรรถคดี หรือการบริหารงานบุคคลของแต่ละศาล และมิให้ใช้
บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามหน้าที่
และอำนาจโดยตรงในแต่ละองค์กรตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือตาม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี
ให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบในกิจการที่คณะกรรมาธิการ
สอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาที่จะต้องสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดหรือในกำกับ
ให้ข้อเท็จจริง ส่งเอกสาร หรือแสดงความเห็นตามที่คณะกรรมาธิการเรียก”