Page 57 - kpiebook66024
P. 57

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           โดยธรรมชาติของการออกคำสั่งแบบนี้ โดยคณะกรรมาธิการบางส่วนอาจเห็นว่า
           ถ้าหากออกคำสั่งเรียกตามกฎหมาย ก็อาจไม่ได้รับความร่วมมือหรืออาจถูกปฏิเสธ
           ส่งผลให้ในทางปฏิบัติมีการเลี่ยงการออกคำสั่งไปใช้การ “เชิญ” หรือการขอความร่วม

           มือแทนและในช่วงที่มีการฝ่าฝืน ก็อาจไม่มีการบังคับดำเนินคดีอาญาตามที่กฎหมาย
           กำหนด ซึ่งพรสันต์ก็มองว่า การใช้อำนาจดังกล่าวนั้น อยู่ในช่วงที่คณะกรรมาธิการ
           จะต้องกำลังเรียนรู้และพัฒนา แต่การเรียนรู้และพัฒนาดังกล่าวก็ถูกทำให้สะดุด

           หยุดลงเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้การใช้อำนาจ
           ในการออกคำสั่งเรียกเพื่อประโยชน์ในการแสวงหาข้อเท็จจริงของคณะกรรมาธิการ
           ซึ่งแต่เดิมก็มีสภาพบังคับที่ชัดเจนน้อยอยู่แล้ว ก็ยิ่งกลายเป็นการบัญญัติที่ทำให้สภาพ

           บังคับด้อยลงกว่าเดิม 45

                       จากกลไกเกี่ยวกับการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินที่กล่าวถึง
           ทั้งหมดข้างต้น จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

           พุทธศักราช 2540 เป็นต้นมา รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้มุ่งสร้างความเข้มแข็งและ
           ความมีเสถียรภาพให้แก่รัฐบาล จนทำให้เกิดกรณีใน พ.ศ. 2548 ที่พรรคการเมือง
           ที่ได้รับเสียงข้างมากได้รับคะแนนเสียงมากจนทำให้พรรคฝ่ายค้านในรัฐสภาไม่สามารถ

           ขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจได้ ทำให้กลไกการควบคุมการบริหารราชการ
           แผ่นดินเพียงอย่างเดียวที่พรรคฝ่ายค้านสามารถทำได้คือการตั้งกระทู้ถาม โดยในช่วง
           4-5 ปี ก่อน พ.ศ. 2549 อำนาจรัฐเกือบทั้งหมดได้ถูกผูกขาดอยู่กับคนเพียงคนเดียว

           หรือกลุ่มเดียวและยากที่จะทำให้เกิดการตรวจสอบกันได้จนมีการกล่าวกันว่ารัฐบาล
           ในขณะนั้นสามารถควบคุม ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารได้ และมีการดำเนิน
           นโยบายหลายประการที่ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การใช้อำนาจ

           ปราบปรามประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือแม้แต่การปราบปราม
           ผู้มีอิทธิพลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยวิธีการที่ใช้ความรุนแรง ซึ่งแม้ว่าจะมี
           การกล่าวว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่บุคคลไม่ใช่ปัญหาในระบบ แต่สมคิด เลิศไพฑูรย์

           ก็เห็นว่าไม่สามารถปฏิเสธได้อย่างชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
           พุทธศักราช 2540 ไม่เป็นกุญแจสำคัญที่สร้างกลไกดังกล่าว  ด้วยเหตุนี้
                                                                        46


                 45  พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย, เรื่องเดียวกัน หน้า 184
                 46  กิตตพงศ์ กมลธรรมวงศ์, 2554. รวมบทความวิชาการกฎหมายรัฐธรรมนูญของ
           ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา หน้า 62
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62