Page 47 - kpiebook66024
P. 47
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
เพราะการกำหนดมาตรการดังกล่าวจะทำให้รัฐมนตรีจะต้องดำเนินการตามแนวทาง
ของคณะรัฐมนตรีภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี เพราะถ้าหากนายกรัฐมนตรี
ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรีและทำให้รัฐมนตรีคนใดพ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีคนนั้น
ก็จะไม่สามารถดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาอีกได้ ที่สำคัญการที่สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีและต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรไป ยังทำให้บุคคลนั้นสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งรัฐมนตรีได้อย่าง
เต็มที่โดยไม่ต้องกังวลถึงการปฏิบัติงานในตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 35
3.2.3
การกำหนดกลไกการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
:
การตั้งกระทู้
และการอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ
การกำหนดให้สมาชิกรัฐสภาสามารถตั้งกระทู้ถาม หรือกำหนดให้
สภาผู้แทนราษฎรสามารถขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
หรือทั้งคณะนั้น เป็นกลไกการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินที่กำหนดไว้ตั้งแต่
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับปัจจุบัน โดยอาจมีการกำหนดรายละเอียดที่ต่างกันบ้าง และที่ผ่านมาก็เคยได้มี
การศึกษาและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการตั้งกระทู้ถาม การตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
และการอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ ดังนี้
- ข้อสังเกตจากการตั้งกระทู้ถาม : ในการตั้งกระทู้ถามทั่วไปนั้น
เนื่องจากหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระยะแรกมีจำนวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่มาก และกระทู้ถามก็มีจำนวนไม่มาก
เช่นกัน ทำให้รัฐมนตรีที่ถูกถามส่วนใหญ่จะมาตอบกระทู้ถามในสภา
ผู้แทนราษฎร และส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเดือดร้อนของ
ประชาชนในพื้นที่ของสภาผู้แทนราษฎรนั้น ๆ แต่เมื่อจำนวนสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้การตั้งกระทู้ถามมมีมาก
ขึ้นด้วย ทำให้หลายกระทู้ไม่สามารถถูกบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระได้ทัน
ที่สำคัญ บางกระทู้มีลักษณะเป็นกระทู้ที่ด่วน แต่กลับไม่สามารถ
บรรจุได้ทัน หรือในหลายกรณี บางกระทู้ก็อาจถูกเลื่อนตอบ
35 นันทวัฒน์ บรมานันท์ และคณะ, 2554, การปรับโครงสร้างของระบบรัฐสภา, กรุงเทพ ฯ :
สถาบันพระปกเกล้า หน้า 387-388