Page 37 - kpiebook66024
P. 37
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ
และฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลังการ
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งผู้เขียนเลือกใช้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นจุดแบ่งนี้ เนื่องจาก
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวอยู่ภายใต้กระแสการเมืองที่ต้องการมี
การปฏิรูปการเมืองการปกครองของประเทศ โดยมุ่งเน้นการสร้างเสถียรภาพให้แก่
รัฐบาล จึงได้มีการสร้างกลไกหรือเปลี่ยนแปลงกลไกที่มีอยู่เดิมหลายประการ
3.1
ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
ในระบบรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช
2540
ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
ในการปกครองนั้น รัฐธรรมนูญของไทยก็ได้บัญญัติตลอดมาว่าประเทศไทยยังคงมี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ โดยพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ได้บัญญัติว่า
“กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของ
ศาลก็ดี การอื่น ๆ ซึ่งจะมีกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามของ
16
กษัตริย์”
และเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
ก็ได้มีการบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ โดยบัญญัติว่า
“อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุข
ทรงใช้อำนาจนั้น แต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
17
16 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักสยาม พุทธศักราช 2475 มาตรา 3
17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มาตรา 2