Page 32 - kpiebook66024
P. 32

0
                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           ไปในทางที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ตามอำเภอใจ และยิ่งปราศจากระบบ
           การควบคุมตรวจสอบจากทางอื่นก็ยิ่งทำให้เกิดผลเสียหายได้
                                                               10

                 ด้วยเหตุนี้ หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา หลายประเทศที่ได้มี
           การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ก็จะจัดวางโครงสร้างขององค์กร
           ทางการเมืองใหม่ โดยกำหนดให้มีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างองค์กรทาง
           การเมืองจนเกิดเป็นแนวคิดทางกฎหมายรัฐธรรมนูญใหม่ที่เรียกว่า “ระบบรัฐสภา

           ที่ทำให้มีเหตุผลขึ้น” และชาติชายยังได้กล่าวต่อว่า ระบบดังกล่าวนี้มีองค์ประกอบ
           ที่สำคัญสองประการ คือ

                 หนึ่ง การกำหนดให้มีองค์กรควบคุมตรวจสอบทางการเมืองนอกเหนือจาก

           องค์กรหรือกลไกเดิมที่มีแค่ให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบกันเอง (เช่น
           ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ ฯลฯ) และ

                 สอง คือ ปรับปรุงระบบการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและ

                                                            11
           ฝ่ายบริหารให้มีการควบคุมตรวจสอบกันได้อย่างเหมาะสม
                 จะเห็นได้ว่า หลายประเทศเองก็ได้เกิดปัญหาเรื่องการตรวจสอบระหว่าง
           ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา

           เช่นเดียวกัน จึงนำไปสู่การจัดวางโครงสร้างขององค์กรทางการเมืองใหม่และ
           สร้างระบบตรวจสอบให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่าง

           ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารใหม่ด้วย อย่างไรก็ตาม การสร้างระบบตรวจสอบ
           ที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้นนั้น ก็ต้องคำนึงถึงการทำงานของรัฐบาลซึ่งทำหน้าที่ในการกำหนด
           นโยบายบริหารราชการแผ่นดินด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการสร้างระบบ
           การตรวจสอบ ต้องเพียงพอที่จะทำให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพ

           แต่ก็ต้องไม่เกินเลยไปจนทำให้รัฐบาลทำงานไม่ได้จนต้องมีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยครั้ง
           จนการบริหารราชการแผ่นดินขาดความต่อเนื่องและไม่มีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับ

           สาธารณรัฐฝรั่งเศสในสมัยสาธารณรัฐที่ 3 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลถึง 93 คน




                  10  ชาติชาย ณ เชียงใหม่. 2563. การจัดความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
           ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า หน้า 30
                  11  เรื่องเดียวกัน หน้า 31
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37