Page 29 - kpiebook66024
P. 29

1
 การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา

           2.2
การสร้างกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่าง

           
     ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารตามหลักการแบ่งแยก
           
     การใช้อำนาจ



                 เมื่อถือว่าหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจเป็นหลักสำคัญในการกำหนดกลไก
           เพื่อป้องกันไม่ให้องค์กรของรัฐองค์กรใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจมากเกินไปจนอาจนำไปสู่

           การใช้อำนาจไปในทางที่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้แล้ว ประเด็นสำคัญ
           ที่จะต้องกล่าวถึงต่อไปก็คือ จะจัดวางโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจของทั้งสองฝ่ายนี้
           อย่างไร เพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลตามหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจ ซึ่งการ
           จัดวางโครงสร้างทางการเมืองการปกครองในแต่ละประเทศก็จะกำหนดความสัมพันธ์

           เชิงอำนาจนี้ต่างกันออกไป ซึ่งในงานวิจัยนี้ จะขอมุ่งกล่าวถึงเฉพาะการจัดวาง
           ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารเท่านั้น

                                  9
                 ทั้งนี้ หยุด แสงอุทัย  ได้เคยกล่าวถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ
           และฝ่ายบริหาร โดยกล่าวถึงในมุมของการใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติในการตรวจสอบ
           ถ่วงดุลฝ่ายบริหาร และการใช้อำนาจฝ่ายบริหารในการตรวจสอบถ่วงดุลกับ

           ฝ่ายนิติบัญญัติ ไว้ในหนังสือ “คำบรรยายกฎหมายรัฐธรรมนูญ” ดังนี้

                 = การตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารโดยฝ่ายนิติบัญญัติ สามารถทำได้โดย

                     (1) การกำหนดให้ฝ่ายบริหารจะดำรงตำแหน่งได้ จะต้องได้รับความ
           เห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ


                       ซึ่งการกำหนดให้ฝ่ายบริหารจะต้องอยู่ได้ด้วยความไว้วางใจของ
           ฝ่ายนิติบัญญัตินั้น อาจทำได้ โดยให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้เลือกประมุขของฝ่ายบริหาร

           อย่างในระบบรัฐสภา และกำหนดให้ฝ่ายบริหารจะต้องแถลงนโยบายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ
           ต่อเข้ารับตำแหน่ง โดยฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องให้ความไว้วางใจต่อการแถลงนโยบายนั้น
           ด้วยการลงมติไว้วางใจ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

           กำหนดไว้เพียงว่า ให้มีการแถลงนโยบาย แต่ไม่มีการลงมติไม่ไว้วางใจ เนื่องจาก
           การแถลงนโยบายก่อนเข้ารับตำแหน่งนั้น เป็นกรณีที่มีการแถลงนโยบายโดยที่รัฐบาล


                  9  หยุด แสงอุทัย, 2515, คำบรรยายกฎหมายรัฐธรรมนูญ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
           ธรรมศาสตร์ หน้า 56-62
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34