Page 28 - kpiebook66024
P. 28

1
                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา


           ในประเทศอังกฤษ (Westminster Model) ซึ่งกำหนดให้ที่มาของฝ่ายบริหารมาจาก
           เสียงข้างมากของฝ่ายนิติบัญญัติ และในบางกรณีผู้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภา
           ผู้แทนราษฎรยังสามารถดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีได้ด้วยนั้น ยิ่งเท่ากับขัดต่อ

           หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจ หรือแม้แต่การปกครองในหลายประเทศที่กำหนดให้
           ฝ่ายตุลาการ (รวมถึงอังกฤษด้วย) สามารถตรวจสอบการกระทำของฝ่ายบริหาร
           ในลักษณะที่เป็น การกระทำทางรัฐบาล ได้นั้น ก็ยิ่งจะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า

           ขัดต่อหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจ 7

                 อย่างไรก็ตาม ถ้าหากพิจารณาจากประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
           ทั้งหมด อาจกล่าวได้ว่ารูปแบบการปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศ

           ฝรั่งเศสนั้น ยังคงรูปแบบของหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจที่ชัดเจนได้อยู่ (หรืออย่าง
           น้อยที่สุดก็ชัดเจนกว่ารูปแบบของการแบ่งแยกการใช้อำนาจในประเทศอังกฤษ)
           แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า การสร้างระบบการแบ่งแยกการใช้อำนาจที่กำหนดให้ทุกองค์กร

           มีที่มาที่แตกต่างกันและไม่เกี่ยวข้องกันนั้น ก็จะทำให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลที่ชัดเจน
           ยิ่งขึ้น และทำให้แต่ละองค์กรสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบได้เต็มที่ เช่น ในกรณีของ
           สหรัฐอเมริกา อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาอาจถูกตรวจสอบได้ด้วยการคัดค้าน

           ร่างกฎหมายโดยประธานาธิบดี หรือการตรวจสอบของฝ่ายตุลาการว่ากฎหมายนั้น
           ขัดรัฐธรรมนูญ (แต่ไม่ได้เป็นการยกเลิกกฎหมาย) และการใช้อำนาจบริหาร
           บางประการของประธานาธิบดีก็อาจต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และคำพิพากษา

           ของศาลก็อาจถูกกลับได้ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 5 เป็นต้น 8

                 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจแล้ว จะเห็นได้ว่า หลักการ
           ดังกล่าวมุ่งที่จะให้เกิดการจัดวางโครงสร้างขององค์กรที่ใช้อำนาจรัฐ โดยแบ่งอำนาจ

           อธิปไตยหรือก็คือหน้าที่ (function) ในอำนาจอธิปไตยเหล่านั้นออก และให้องค์กร
           ที่ใช้อำนาจอธิปไตยต่างองค์กรกันเป็นผู้ใช้อำนาจเหล่านั้น โดยไม่ปล่อยให้การใช้
           อำนาจเหล่านั้นผูกขาดอยู่ที่องค์กรองค์กรหนึ่งแต่เพียงองค์กรเดียว ซึ่งอาจนำไปสู่

           การผูกขาดอำนาจและล่วงละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้






                  7   Roger Masterman, ibid, p. 12
                  8  Ibid.
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33