Page 17 - kpiebook66024
P. 17
การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา
2.
วัตถุประสงค์
2.1) เพื่อศึกษาการความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและ
ฝ่ายนิติบัญญัติในเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลในประเทศไทย และต่างประเทศที่ใช้ระบบ
รัฐสภา
2.2) เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องการตรวจสอบ
ถ่วงดุลของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภาอย่างเหมาะสม
3.
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ได้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลของ
ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภาอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจขยายต่อไปยัง
การวางกลไกเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติเพื่อไม่ให้ฝ่ายบริหารผูกขาดการตรากฎหมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินแต่เพียงองค์กรเดียว โดยการตรวจสอบ
ถ่วงดุลและการกำหนดกลไกในข้อเสนอแนะนั้น จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ว่ายังคง
ต้องทำให้การบริหารราชการแผ่นดินสามารถดำเนินต่อไปได้ และภายใต้หลักการ
สำคัญที่ว่า อย่างน้อยที่สุด ฝ่ายบริหารและเสียงข้างมากในรัฐสภาเองก็มีความชอบธรรม
ในการดำเนินนโยบายเนื่องจากได้รับความไว้วางใจจากประชาชนมากที่สุด
4.
ระเบียบวิธีวิจัย
รายละเอียดและขอบเขตในการดำเนินงาน
การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)
โดยมุ่งศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กรณีศึกษาต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
การบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่เกี่ยวกับกลไกในการสร้างระบบ
การตรวจสอบถ่วงดุลในระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภา
ของประเทศไทย ตลอดจนกล่าวถึงข้อเสนอแนะ เพื่อหาทางออกต่อคำถามที่ว่า
จะทำอย่างไรให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
ได้อย่างแท้จริงในระบบรัฐสภาซึ่งกำหนดให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร
มาจากเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎร หรือก็คือ เป็นระบบที่ทำไห้ประมุขของ