Page 16 - kpiebook66024
P. 16

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา                        การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา

           กับความไร้เสถียรภาพของรัฐบาล ดังนั้น การปฏิรูปการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ
           ฉบับดังกล่าวจึงพยายามสร้างวางกลไกเพื่อให้รัฐบาลเข้มแข็งคล้ายกับกลไกของ

           ประเทศฝรั่งเศส และยังสร้างองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อควบคุม
           ความชอบด้วยกฎหมาย และควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม
           ระบบการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 กลับก่อให้เกิดปัญหาใหม่ซึ่งสะท้อน

           ให้เห็นจุดอ่อนของระบบรัฐสภาที่ชัดเจน กล่าวคือ โดยธรรมชาติของระบบรัฐสภานั้น
           ฝ่ายบริหารจะมาจากเสียงข้างมากของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
           ฝ่ายบริหารและเสียงข้างมากในรัฐสภาจะอยู่ฝ่ายเดียวกัน ทำให้การควบคุมการบริหาร

           ราชการแผ่นดินอาจจะไม่มีประสิทธิภาพในความเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่
           ฝ่ายบริหารมีเสียงข้างมากในรัฐสภาถึงขนาดที่พรรคฝ่ายค้านมีเสียงไม่เพียงพอ
           ในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ และแม้ว่าที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

           ที่ประกาศใช้หลังจากรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 จะพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว
           แต่การวางกลไกเพื่อแก้ปัญหามีลักษณะเหมือนการพยายามทำปัญหาเรื่องการเมือง
           ให้กลายเป็นเรื่องกฎหมายและให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่า

           ทำให้ฝ่ายการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐสภาอ่อนแอลง อีกทั้งการแก้ปัญหา
           โดยทำให้เรื่องการเมืองเป็นเรื่องกฎหมายนั้น จะทำให้เหลือทางออกเพียง “ใช่” กับ
           “ไม่ใช่” หรือ “ผิด” กับ “ถูก” ซึ่งขาดการประสานประโยชน์หรือทำให้เกิดสถานการณ์
           ที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย


                 ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาแนวทางในการไขปัญหาเรื่องของบกพร่อง
           ของการตรวจสอบถ่วงดุลในระบบรัฐสภาเพื่อนำมาปรับใช้กับกรณีของประเทศไทย

           โดยอยู่ภายใต้หลักการที่ว่า ทำอย่างไรให้รัฐสภาสามารถตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร
           ได้อย่างแท้จริง (ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายการเมืองที่มีจุดยึดโยงกับประชาชน ตรวจสอบเรื่อง
           ทางการเมืองด้วยวิธีการทางการเมือง) ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าการตรวจสอบนั้นจะต้องยัง

           คงทำให้การบริหารราชการแผ่นดินสามารถดำเนินต่อไปได้ และนำเสนอข้อเสนอ
           เพื่อเป็นทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหาเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ
           และฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภาในประเทศไทยด้วย เพื่อตอบคำถามว่า จะทำอย่างไร
           ให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารได้อย่างแท้จริง

           ในระบบรัฐสภาซึ่งกำหนดให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประมุขของฝ่ายบริหารมาจาก
           เสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎร หรือก็คือ เป็นระบบที่ทำไห้ประมุขของฝ่ายบริหาร

           และเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรเป็น “พวกเดียวกัน”
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21