Page 21 - kpiebook66024
P. 21

การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา    การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบรัฐสภา

           ความพยายามในการสร้างความเสถียรภาพของรัฐบาล มาเป็นการพยายามสร้างระบบ
           การตรวจสอบถ่วงดุลที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น เช่น การยกเลิกการบัญญัติให้รัฐมนตรี

           จะต้องไม่เป็นสมาชิกรัฐสภา เป็นต้น และโจทย์สำคัญดังกล่าวก็ยังคงเป็นโจทย์
           ที่ต่อเนื่องมาจนมีการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
           แต่การสร้างระบบการตรวจสอบของฝ่ายบริหาร โดยเน้นไปที่ตรวจสอบความชอบด้วย

           กฎหมายโดยสถาบันตุลาการ ทำให้เกิดคำถามและการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ
           การทำให้เรื่องการเมืองกลายเป็นเรื่องทางกฎหมาย และเกิดแนวคิดที่ต้องการให้
           ความสำคัญในการตรวจสอบเรื่องที่มีลักษณะทางการเมือง เป็นการตรวจสอบทาง

           การเมือง ซึ่งก็คือการใช้กลไกการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยรัฐสภา
           ด้วยเหตุนี้ คำถามเกี่ยวกับการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยรัฐสภาซึ่งมี
           เสียงข้างมากเป็นพวกเดียวกับฝ่ายบริหารจึงกลายเป็นประเด็นคำถามที่สำคัญต่อ

           การพัฒนาระบบรัฐสภาของประเทศไทย

                 บทที่ 4 : จะเป็นการชี้ให้เห็นถึงกรณีศึกษาต่างประเทศที่กำหนดเกี่ยวกับ
           การตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารโดยใช้กลไกของระบบรัฐสภา แต่จะต้องทำความเข้าใจ

           เสียก่อนว่า การวางระบบการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารโดยรัฐสภาให้ถึงขนาดว่า
           พรรคฝ่ายค้านเองซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในรัฐสภาสามารถยับยั้งหรือล้มล้างการกำหนด
           นโยบาย หรือการดำเนินนโยบายของฝ่ายบริหารนั้น ถือเป็นเรื่องที่ “ผิดธรรมชาติ”

           ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจาก เมื่อมีการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิก
           สภาผู้แทนราษฎร แต่ละพรรคการเมืองย่อมแสดงนโยบายในการหาเสียงของตน
           ประหนึ่งคำสัญญากับประชาชนว่าถ้าหากพรรคของตนได้รับเลือกตั้งแล้วนั้น

           จะทำอย่างไร และการได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภา ก็เท่ากับว่าประชาชนพอใจและ
           ต้องการให้มีการดำเนินนโยบายเช่นนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ พรรคการเมืองที่ได้
           รับเสียงข้างมากนั้น สะท้อนความต้องการของประชาชน และเมื่อสภาผู้แทนราษฎร

           ได้เลือกประมุขของฝ่ายบริหารแล้ว ประมุขของฝ่ายบริหาร (ซึ่งมักจะมาจาก
           พรรคการเมืองเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากในรัฐสภา) ก็ย่อมผูกพัน
           จะต้องดำเนินนโยบายตามที่ได้สัญญากับประชาชนไว้ตอนหาเสียง ดังนั้น การสร้าง
           ระบบควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินให้ถึงขนาดที่พรรคฝ่ายค้านซึ่งเป็น

           เสียงข้างน้อยสามารถตรวจสอบหรือล้มล้างการตัดสินใจของรัฐบาลได้ หรือสร้างระบบ
           ที่ทำให้เกิดการนำประเด็นทางการเมืองไปเป็นเรื่องทางกฎหมายได้ทุกเรื่อง ก็อาจทำให้

           ได้ผลลัพธ์ที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประชาชนที่เลือกตัวแทนจาก
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26