Page 51 - kpiebook66013
P. 51
ที่แตกต่างกัน (อนุสัญญาฉบับที่ 81 และอนุสัญญาฉบับที่ 129) ตามล�าดับ
ส�าหรับประเทศไทยนั้น แรงงานภาคเกษตรมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เหมือนกับแรงงานภาคอุตสาหกรรม
ทุกประการ เว้นแต่แรงงานภาคเกษตรที่ไม่ได้ท�าตลอดทั้งปี แรงงานจะไม่ได้รับ
70
71
ความคุ้มครองในบางเรื่อง เช่น การคุ้มครองแรงงานหญิง การคุ้มครอง
72
แรงงานเด็ก ทว่า ด้วยลักษณะงานเกษตรกรรมที่ต้องอิงกับปรากฏการณ์ตาม
ธรรมชาติเป็นหลักซึ่งต่างจากงานภาคอุตสาหกรรม จึงเป็นประเด็นน่าพิจารณาว่า
แม้จะใช้หลักการคุ้มครองแรงงานที่เหมือนกัน แต่หากเป็นกรณีการตรวจแรงงาน
อาจจ�าต้องมีหลักการและเงื่อนไขที่ต่างกันระหว่างการตรวจแรงงานภาคอุตสาหกรรม
และการตรวจแรงงานภาคเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม การท�าเกษตรกรรมตลอดทั้งปี
หรือเฉพาะบางช่วงเวลา โดยสภาพแล้วไม่น่ามีข้อพิจารณาใดที่จะต้องแยกการตรวจ
แรงงานเกษตรกรรมที่ท�าในบางช่วงเวลาออกจากการตรวจแรงงานเกษตรกรรม
ที่ท�าตลอดทั้งปี ในทางกลับกัน “ลักษณะงาน” เป็นปัจจัยส�าคัญต่อการก�าหนด
กฎเกณฑ์การจ้างแรงงาน งานเกษตรกรรมและงานอุตสาหกรรม ซึ่งโดยสภาพ
มีข้อแตกต่างอยู่ด้วยกันหลายประเด็น ดังนี้ อาจเป็นโอกาสที่ต้องการพัฒนา
เครื่องมือตรวจสอบการปฏิบัติติตามกฎหมายแรงงานแล้ว เกณฑ์หรือหลักการที่ใช้
ก็ควรที่จะแตกต่างกันด้วยไม่มากก็น้อย
(ข) แนวคิดและหลักการสากลเกี่ยวกับการแรงงานที่ประเทศไทย
เลือกที่จะรับมาปฏิบัติ
หลักการสากลที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงานซึ่งประเทศไทยได้รับมาใช้
เป็นแนวปฏิบัติภายในเพื่อพัฒนากฎเกณฑ์การจ้างแรงงาน อาจจ�าแนกเป็น 2 ส่วน
ด้วยกัน กล่าวคือ ส่วนที่เป็นเรื่องมาตรฐานสากลซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบริหารจัดการ
แรงงาน (1) และส่วนที่เป็นแนวคิดสากลเรื่องการแรงงาน (2)
70 กฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557.
71 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 40 – มาตรา 43.
72 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 44 มาตรา 46 มาตรา47
และมาตรา 49.
51