Page 55 - kpiebook66013
P. 55

ความคุ้มครองอยู่ดี เมื่อพิจารณาประกอบกับการจ้างงานในลักษณะอื่นที่ไกลเกินกว่า
               จะหาสายสัมพันธ์ในการจ้างแรงงานได้ (เช่น สัญญาจ้างให้ท�างานผ่านแพลตฟอร์ม)

               ก็ยิ่งท�าให้เห็นถึงสถานะความเป็นแรงงานนอกระบบของคนท�างานในประเทศไทย
               ด้วยเหตุนี้เองใน พ.ศ. 2562 ได้มียกร่าง (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา

               แรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... (ต่อมาเปลี่ยนเป็น (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริม
               การพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ....) ขึ้นเพื่อก�าหนด

               มาตรการที่เหมาะสมสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เพื่อให้ผู้ใช้แรงงาน
               ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบสามารถเข้าถึงสิทธิแรงงาน และสิทธิในความมั่นคง

               ทางสังคมได้อย่างเสมอภาคเช่นเดียวกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน

                           ในส่วนประเด็นปัญหาการจ้างแรงงานในประเทศไทยที่ไม่เป็นไปตาม

                                                                                  78
               หลักการสากลนั้น ก็ยังคงผูกพันกับประเด็นเรื่องการใช้แรงงานบังคับอย่างต่อเนื่อง
               ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สภาพความเป็นอยู่ของลูกจ้าง สภาพของสถานประกอบกิจการ

               ที่ท�างาน การจ่ายค่าตอบแทนการท�างาน การก�าหนดเวลาท�างาน ซึ่งปัญหา
               ที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้ บางครั้งเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากพฤติการณ์อันไม่ถูกต้องของ

               ฝ่ายนายจ้าง บางครั้งก็อาจเกิดจากการตีความและบังคับใช้กฎหมายแรงงาน
               ที่เคร่งครัดเกินควร เช่น การก�าหนดชั่วโมงการท�างานต่อวันและต่อสัปดาห์

               ที่บ่อยครั้งผู้ประกอบการและพนักงานตรวจแรงงานยึดติดกับชั่วโมงการท�างาน
               ต่อวันสูงสุดไม่เกิน 8 - 9 ชั่วโมง ซึ่งการท�างานบางอย่าง เช่น งานบริหาร งานธุรการ

               งานเกี่ยวกับการศึกษา ฯลฯ กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 ยอมรับให้ลูกจ้างและนายจ้าง
               ตกลงกันก�าหนดชั่วโมงท�างานต่อวันได้ตามความเหมาะสม แต่ทั้งนี้สัปดาห์หนึ่ง

               ต้องไม่เกินกว่า 48 ชั่วโมง ซึ่งวิธีการก�าหนดชั่วโมงการท�างานตามกฎกระทรวง
               ฉบับที่ 7 นี้ค่อนข้างเหมาะต่อวิถีการท�างานในสมัยปัจจุบันมากกว่าการเคร่งครัด

               จ�านวนชั่วโมงต่อวันไม่เกิน 8 – 9 ชั่วโมง ดังจะเห็นได้จากกรณีการบริหารชั่วโมง
               การท�างานกรณีนายจ้างประสงค์ให้ลูกจ้างต้องท�างาน Work from Home สลับกับ

               การท�างาน ณ สถานประกอบการ ที่อาจต้องก�าหนดให้ชั่วโมงการท�างานส�าหรับ
               วันที่ท�างาน Work from Home มีชั่วโมงที่คาดหมายได้ว่าลูกจ้างพร้อมท�างาน



               78   กระทรวงแรงงาน, สภาพความเป็นอยู่ของแรงงานไทย, (ออนไลน์) https://japan.mol.
               go.th/situation/the-general-problem-of-thai-workers, เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565.

                                                                                  55
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60