Page 54 - kpiebook66013
P. 54
เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่ถือเป็นเรื่องส�าคัญและจ�าเป็น ส�าหรับการประกอบธุรกิจ
โดยภาพรวมธนาคารโลกได้สะท้อนให้เห็นว่า การมีกฎหมายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ
การจ้างงานที่สะดวกและคล่องตัวย่อมเป็นเรื่องที่ดีและไม่เป็นอุปสรรคต่อ
ผู้ประกอบการ ทว่า หลักการดังกล่าวนี้ย่อมต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิแรงงานพื้นฐาน
ด้วยประกอบกัน อันท�าให้เป็นหน้าที่ที่รัฐผู้รับการลงทุนจ�าเป็นต้องพิเคราะห์และ
ก�าหนดกฎเกณฑ์การจ้างงานให้เกิดความสะดวกต่อผู้ประกอบการ แต่ในขณะเดียวกัน
ต้องไม่เป็นโทษหรือเป็นไปในทางที่ท�าให้เกิดการละเมิดสิทธิแรงงาน
โดยสรุปแล้ว มาตรฐานสากลและแนวคิดสากลเกี่ยวกับการบริหาร
จัดการแรงงาน แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนากฎเกณฑ์และเงื่อนไข
การจ้างงาน แต่ก็ยากที่จะปฏิบัติถึงบทบาทของมาตรฐานและแนวคิดดังกล่าวนี้
ที่จะเป็นแรงเสริมผลักดันให้เกิดการเคารพต่อกฎหมายแรงงานและปฏิบัติต่อ
ผู้ใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม
1.4 สถานการณ์การจ้างแรงงานในปัจจุบันของประเทศไทย
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ตลาดแรงงานไทยต้องเผชิญกับการใช้เทคโนโลยี
สมัยใหม่ และ AI มาทดแทนการท�างานในบางลักษณะงาน ท�าให้อัตราการว่างงาน
สูงขึ้น และกลายเป็นความส�าคัญและจ�าเป็นที่แรงงานไทยจะต้องได้รับการเรียนรู้และ
เพิ่มพูนทักษะฝีมือแรงงานโดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยี นวัตกรรม และโลจิสติกส์
นอกจากนี้แล้ว นายจ้างผู้ประกอบการมักจะหาวิธีให้ได้มาซึ่งแรงงาน
โดยมีภาระค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ท�าให้เกิดการจ้างงานเหมาค่าแรงและ
การจ้างงานเหมาค่าบริการขึ้น อันเป็นผลให้ช่วง พ.ศ. 2551 มีการแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยเพิ่มมาตรา 11/1 มีใจความ
โดยสังเขปว่าให้ผู้ประกอบกิจการที่จ้างงานเหมาค่าแรงรับผิดต่อลูกจ้างเหมา
ค่าแรงเสมือนเป็นนายจ้างของลูกจ้างนั้น และต่อมาในปี 2561 พระราชบัญญัติ
เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ก็ได้แก้ไขความในมาตรา 11 ให้มีใจความไปในทิศทางเดียวกัน
กับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน อย่างไรก็ตาม เห็นได้ว่าการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติ
ทั้ง 2 ครั้ง ก็ยังท�าให้แรงงานบางประเภท เช่น ลูกจ้างเหมาค่าบริการ ไม่ได้รับ
54 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่