Page 50 - kpiebook66013
P. 50
พนักงานตรวจแรงงานและพนักงานตรวจความปลอดภัยว่าสามารถเข้าตรวจได้
แม้ว่าเหตุแห่งความผิดยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติด้วยข้อจ�ากัด
ด้านทรัพยากรทั้งบุคคลและงบประมาณจึงเป็นไปได้ยากที่จะมีการตรวจในลักษณะ
ป้องปราม (Pre-audit) เพื่อไม่ให้เกิดการกระท�าอันเป็นความผิด ความน่าสนใจ
อยู่ที่กลไกของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม
ในการท�างาน พ.ศ. 2554 มาตรา 9 - มาตรา 12 ที่ก�าหนดให้มีการให้บริการ
ตรวจความปลอดภัยโดยบุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนกับอธิบดีกรมสวัสดิการและ
คุ้มครองแรงงานไว้แล้วย่อมตรวจและรับรองความปลอดภัยในการท�างานได้
ซึ่งสะท้อนให้เห็นการยอมรับหลักการให้เอกชนที่มีศักยภาพเป็นตัวแทนรัฐ
ในการตรวจสอบสถานประกอบกิจการเอกชน ซึ่งการตรวจสอบโดยเอกชนตัวแทนนี้
เป็นการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องครบถ้วนในหน้าที่ที่สถานประกอบกิจการ
พึงต้องกระท�าตามที่กฎหมายบัญญัติ หากปรากฏการกระท�าหรือพฤติการณ์
ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เอกชนผู้ตรวจสามารถมีค�าแนะน�าให้เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองสถานประกอบการสามารถแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องได้ และเมื่อได้มี
การแก้ไขแล้วก็จะไม่ถือว่าเป็นความผิดต่อไป เช่นนี้ย่อมท�าให้ผู้ประกอบกิจการ
เองไม่มีความผิด และพฤติการณ์ต่างๆ ที่อาจเป็นผลร้ายต่อความปลอดภัย
ของแรงงานก็จะหมดสิ้นไปด้วย
ในหลายประเทศได้หันมาใช้วิธีการให้เอกชนที่ขึ้นทะเบียนเป็น
ผู้ตรวจแรงงานและสถานประกอบกิจการในลักษณะการตรวจเพื่อป้องปรามไป
พร้อมๆ กับระบบตรวจโดยเจ้าพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นบุคลากรของรัฐ ดังนี้แล้ว
หากประเทศไทยให้ความส�าคัญกับวิธีการตรวจแรงงานโดยผ่านตัวแทนเอกชน และ
ได้พัฒนาต่อยอดให้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์ยิ่ง โดยใช้ควบคู่ไปกับการตรวจแรงงาน
โดยเจ้าพนักงานตรวจแรงงานก็ย่อมท�าให้ระบบการตรวจแรงงานมีความเข้มแข็ง
มากขึ้น ซึ่งก็เป็นโอกาสให้การกระท�าความผิดกฎหมายแรงงานลดน้อยลงนั่นเอง
นอกจากนี้แล้ว ILO ได้ยอมรับในความแตกต่างของแรงงาน
ภาคอุตสาหกรรมและแรงงานภาคเกษตรกรรมอย่างเห็นได้ชัด ดังปรากฏว่า
มีหลักการตรวจแรงงานในงานอุตสาหกรรม และการตรวจแรงงานในภาคเกษตรกรรม
50 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่