Page 47 - kpiebook66013
P. 47
ประเด็นที่น่าสนใจของประเทศไทยคือ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในกลุ่ม
อนุสัญญาแกนไปแล้ว 6 ฉบับ โดยอนุสัญญาฉบับที่ 111 เป็นฉบับสุดท้าย
ในบรรดา 6 ฉบับนี้ ทว่า บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ยังกล่าวถึงแต่เฉพาะความเท่าเทียมในการจ่ายค่าตอบแทนให้กับลูกจ้างชาย
และลูกจ้างหญิงเท่านั้น โดยไม่ได้มีการแก้ไขบทบัญญัติให้ครอบคลุมเรื่อง
การไม่เลือกปฏิบัติที่มีเหตุมาจากปัจจัยอื่นนอกจากเรื่องเพศ เช่น ศาสนา เชื้อชาติ
กอปรกับข้อเท็จจริงที่เคยปรากฏในทางปฏิบัติ กรณีที่สถานประกอบกิจการไม่รับ
ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีเข้าเป็นพนักงาน ซึ่งต่อมาได้มีการร้องเรียนข้อเท็จจริงดังกล่าว
69
ไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมการได้วินิจฉัยว่า
การกระท�าดังกล่าวเป็นการละเมิดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ เป็นการเลือกปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยอ�านาจหน้าที่ของกระทรวง
แรงงาน ทว่า บทบัญญัติกฎหมายแรงงานที่มีสภาพบังคับใช้ก็ไม่มีมาตราใด
ที่จะมาปรับใช้เพื่อเยียวยาผู้เสียหายได้เลย ดังนี้ย่อมเห็นได้ว่าบทกฎหมายเรื่อง
การไม่เลือกปฏิบัติในทางแรงงานยังคงมีช่องว่างอยู่นั่นเอง ประเด็นสุดท้าย
ส�าหรับประเทศไทยกับอนุสัญญาแกนก็คือ ประเทศไทยยังคงไม่ได้ให้สัตยาบัน
ในอนุสัญญาฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่ประเทศไทย
ถูกตั้งค�าถามจาก ILO มาตลอดเกี่ยวกับอุปสรรคปัญหาที่ท�าให้ประเทศไทยติดขัด
จึงไม่อาจให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับนี้ได้
นอกจากอนุสัญญาทั้ง 8 ฉบับดังกล่าวมาข้างต้น (อนุสัญญาแกน
ซึ่งเป็นเรื่อง “หลักการแรงงานพื้นฐาน อันเป็นแก่นของกฎหมายหรือกฎเกณฑ์
การจ้างแรงงาน”) แล้ว ILO ก็ยังให้ความส�าคัญกับเครื่องมือและกลไกต่างๆ
ที่จะท�าให้เกิดการตรวจสอบความถูกต้องและชอบธรรมในการจ้างและใช้แรงงาน
เพื่อช่วยป้องปรามไม่ให้เกิดการกระท�าความผิดด้านการแรงงานขึ้น นอกจากนี้
ความพิเศษเฉพาะของงานในบางลักษณะอาชีพที่ท�าให้เข้าใจได้ว่าวิธีการและ
เงื่อนไขในการให้ความคุ้มครองแรงงานต้องมีความพิเศษแตกต่างไปจากกฎเกณฑ์
การจ้างงานปกติทั่วไป ดังนั้น การก�าหนดกฎเกณฑ์การท�างานที่ไม่สนองต่อลักษณะ
และเงื่อนไขอันมีมาเป็นพิเศษส�าหรับต�าแหน่งหน้าที่การงานนั้น ย่อมเป็นอุปสรรค
69 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ค�าร้องที่ 544/2552 และ 35/2557
47