Page 45 - kpiebook66013
P. 45

อย่างไรก็ตาม ข้อความแรกที่กล่าวไว้ในอารัมภบทของธรรมนูญ
               องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ความว่า “สันติภาพที่เป็นสากลและยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้

                                                   65
               ก็แต่บนฐานของความเป็นธรรมทางสังคม”  ย่อมสะท้อนให้เห็นเจตนารมณ์หลัก
               ร่วมกันในการจัดตั้งองค์การแห่งนี้ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1919 ดังนั้น การที่ ILO ไม่บังคับให้

               รัฐสมาชิกต้องให้สัตยาบันอนุสัญญา หรือรับเอาข้อแนะนั้น ก็เพราะ ILO ต้องการ
               ให้รัฐสมาชิกท�าความเข้าใจในหลักการเรื่องนั้นๆ จนสามารถประเมินความเหมาะสม

               ว่าประเทศตนมีปัจจัยแวดล้อมรองรับกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นอันเป็นผลของการให้
               สัตยาบันมากเพียงพอแล้ว หรือยังต้องพัฒนาปรับปรุงประเด็นปัญหาเหล่านี้ก่อน

               จากนั้นจึงจะพร้อมด�าเนินการ อันสะท้อนถึงหลักการยอมรับในความหลากหลาย
               ของรัฐสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศนั่นเอง กระนั้น บนความหลากหลาย

               ย่อมมีจุดเกาะเกี่ยวหรือจุดร่วมซึ่งมักเป็นการร่วมกันในหลักการหรือโครงสร้างพื้นฐาน
                                                             66
               หรือประเด็นอันเป็น “บ่อเกิด” หรือ “สารัตถะ” แห่งเรื่อง นั้น ที่ได้เกิดเป็นจุดเริ่มต้น
               และได้พัฒนาเรื่อยมา แม้เวลาจะเปลี่ยนไปแต่ประเด็นหลักของเรื่องยังคงคล้ายเดิม
               หรืออีกนัยยะก็คือประเด็นหลักของเรื่องได้รับการพัฒนาจนกลายเป็น “แก่น”

               ของเรื่องนั้นได้โดยปริยาย

                           ด้วยเหตุนี้ ILO จึงได้พิจารณาหาหลักการพื้นฐานอันเป็นแก่นร่วมกัน

               ของเกณฑ์การจ้างงานที่โดยบริบทและตามหลักตรรกะรัฐสมาชิกย่อมต้อง
               ยอมรับในฐานะกติกาพื้นฐานเกี่ยวกับการจ้างแรงงานที่แต่ละรัฐสมาชิกสามารถ

               น�าหลักการเช่นว่านี้ไปปรับใช้กับบริบทภายในประเทศตนได้อย่างไม่ยากเท่าใดนัก
               หลักการเช่นว่านี้มีด้วยกัน 4 ประการ คือ (1) หลักการไม่ใช้แรงงานบังคับ

               (2) หลักการไม่เลือกปฏิบัติทางแรงงาน (3) หลักการคุ้มครองแรงงานเด็ก และ
               (4) หลักการรับรองเสรีภาพในการรวมกลุ่มเพื่อเจรจาต่อรองร่วมกันในประโยชน์

               ทางแรงงาน โดยหลักการทั้ง 4 ประการนี้ได้ปรากฏในเอกสารส�าคัญและ
               เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับพัฒนาการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ได้แก่


               65   “Universal and lasting peace can be established only if it is based upon social
               justice.” See ILO, ILO Constitution Preamble, (Online) https://www.ilo.org/dyn/normlex/
               en/f?p=NORMLEXPUB:55:0::NO::P55_TYPE,P55_LANG,P55_DOCUMENT,P55_
               NODE:KEY,en,ILOC,/Document, access 1 September 2022.

               66   “เรื่อง” หมายถึง ประเด็นแห่งกฎหมายแรงงาน (ผู้เขียน).

                                                                                  45
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50