Page 41 - kpiebook66013
P. 41

(ก) แนวคิดและหลักการสากลเกี่ยวกับการแรงงานที่บังคับให้

                               ประเทศไทยต้องน�าไปปฏิบัติ

                          ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of

               Human Rights) (1) และสนธิสัญญาที่อยู่ในรูปของอนุสัญญา ข้อแนะ และพิธีสาร

               ตราขึ้นโดยขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (3) คือเอกสารสองส่วนที่ประเทศไทย
               ให้ความส�าคัญและตระหนักเสมอที่จะน�าหลักการและรายละเอียดซึ่งปรากฏอยู่ใน
               เอกสารทั้งสองส่วนนั้นมาปรับใช้ เพื่อพัฒนาปรับปรุงบทกฎหมายตลอดจนแนวปฏิบัติ

               ภายในให้สอดคล้อง อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 2015 รัฐสมาชิกสหประชาชาติรวมทั้ง

               ประเทศไทยได้รับเอาวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals
               (SDGs)) (2) อันประกอบความมุ่งหมาย 17 ด้าน ที่สหประชาชาติมุ่งใช้ให้เป็น
               กรอบทิศทางการพัฒนาโลกหลัง ค.ศ. 2015 มาเป็นธุระในการด�าเนินกิจการ

               ต่างๆ ภายในรัฐ

                      1) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration

               of Human Rights) นับแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ที่ประชุมสมัชชา

               สหประชาชาติ สมัยสามัญ สมัยที่ 3 ได้มีข้อมติรับรองให้ปฏิญญาสากลว่าด้วย
               สิทธิมนุษยชนเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ในการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชน
               ระหว่างประเทศฉบับแรกของโลก ประเทศไทยเป็น 1 ใน 48 ประเทศแรกของโลก

               ที่ร่วมรับรองปฏิญญาฉบับนี้ในการประชุมที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยที่

               ประเทศไทยให้ความส�าคัญกับปฏิญญาฉบับนี้ตลอดมาโดยถือว่าเป็นหลักการ
               พื้นฐานของมนุษย์ที่จะได้รับความเคารพในเรื่องต่างๆ ที่ไม่ควรถูกละเมิด
               ซึ่งปรากฏเป็นเนื้อหารายละเอียดจ�านวน 30 ข้อ  อย่างไรก็ตาม ส่วนที่เกี่ยวกับ
                                                        60
               เรื่องแรงงานหรือสิทธิแรงงานซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนนั้นปรากฏอยู่หลายข้อด้วยกันคือ

               ข้อ 7 หลักความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ ข้อ 22 การเข้าถึงหลักประกัน
               ทางสังคม ข้อ 23 สิทธิในการท�างาน สิทธิในการเลือกงาน สิทธิที่ได้รับค่าจ้าง
               และค่าตอบแทนที่เพียงพอซึ่งเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิในการตั้ง


               60   กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน,
               (กรุงเทพมหานคร : มปท.), 2551, หน้า 1 - 2.




                                                                                  41
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46