Page 38 - kpiebook66013
P. 38
แรงงานที่มีทักษะฝีมือ มีโอกาสและได้รับการพัฒนาฝีมือ
แรงงานให้สอดรับต่อความต้องการในตลาดงานได้อย่างแท้จริง
(3) บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ โดยอาศัย
ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่ออ�านวยความสะดวก
ให้กับคนต่างด้าวที่มีสมรรถะสูง
(4) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการประกันสังคมให้สอดคล้อง
กับบริบทปัจจุบัน และรับรองการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ตลอดจนโอกาสและความเป็นไปได้ในการน�าเงินส่วนของ
ผู้ประกันตนออกมาให้กับผู้ประกันตนใช้หมุนเวียนในกรณี
จ�าเป็น
(5) ดูแลให้แรงงานและนายจ้างสามารถท�างานได้ในสถานการณ์
การระบาดของโรค
2. ประเด็นส�าคัญ ประเด็นด้านแรงงานที่ส�าคัญต่อบริบททางเศรษฐกิจ
และสังคมปี 2565 มี 7 ประเด็นประกอบด้วย
(1) การพัฒนาทักษะแรงงานให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพ โดยจัด
ให้มีการยกระดับฝีมือแรงงาน Up-skill, Re–skill, New skill
เน้นแรงงานกลุ่มว่างงานให้มีความรู้เพียงพอต่อการท�างาน
และส่งเสริมให้แรงงานตระหนักในวิธีการเรียนรู้การท�างาน
แบบใหม่ เพิ่มทักษะดิจิทัล เทคโนโลยี และนวัตกรรม
อันน�ามาซึ่งแรงงานที่มีสมรรถนะสูงสามารถรับมือกับบริบท
ใหม่ของโลกที่มีดิจิทัลเป็นพื้นฐานในทุกองค์ประกอบของ
สังคม อีกทั้งการพัฒนาทักษะฝีมือให้กับเยาวชนที่นิยม
ประกอบการงานในรูปแบบงานอิสระมากกว่าการผูกติด
กับองค์กรหนึ่งองค์กรใดก็ถือว่าเป็นเรื่องส�าคัญยิ่ง และ
ที่จะขาดเสียมิได้ก็คือการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง
ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา
38 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่