Page 40 - kpiebook66013
P. 40
และส่วนที่ส่งเสริมการจ้างแรงงานและการจ้างแรงงานบางประเภท อันท�าให้
ผลลัพธ์ในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายนั้นมีประสิทธิภาพ กฎหมายที่ตราขึ้น
ก็จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างแท้จริง
1.3 แนวคิดและหลักการสากลเกี่ยวกับการแรงงานที่ประเทศไทย
มีพันธกรณีผูกพันหรือยอมรับเอามา
แนวคิดและหลักการสากลเกี่ยวกับการแรงงานซึ่งประเทศไทย
มีพันธกรณีในทางระหว่างประเทศที่ต้องเคารพต่อนั้น อาจจ�าแนกได้ออกเป็น 2 กลุ่ม
59
ด้วยกัน กล่าวคือ กลุ่มแรก กลุ่มแนวคิดและหลักการที่ปรากฏในสนธิสัญญา
ที่มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น อนุสัญญา ข้อแนะ พิธีสาร ซึ่งประเทศไทยได้ให้
สัตยาบัน รับเอา หรือรับรองสนธิสัญญานั้นแล้ว ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องท�า
การอนุวัติด้วยการน�าเนื้อหาในสนธิสัญญาเหล่านั้นมาเป็นหลักในการแก้ไข
พัฒนาบทบัญญัติแห่งกฎหมายและแนวปฏิบัติภายใน เท่ากับว่าเป็นการยอมรับ
หลักสากลมาใช้โดยบังคับ (ก) และกลุ่มที่สอง แนวคิดและหลักการที่ปรากฏ
ในสนธิสัญญา ตลอดจนเอกสารตีพิมพ์เผยแพร่ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประเทศไทย
ไม่ได้ให้สัตยาบัน รับเอา หรือรับรอง หรือไม่อาจท�าการเช่นว่านั้นได้ เพราะเนื้อหา
ในเอกสารไม่ได้มุ่งที่จะผูกพันแต่เป็นเพียงแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใด
อย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น ธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชน จึงเท่ากับว่าการที่
ประเทศไทยยอมรับเอาหลักการกลุ่มนี้มาใช้โดยสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับด้วย
พันธกรณีที่ได้ตกลงไว้หรือให้สัญญาไว้ แต่ยอมรับมาปฏิบัติด้วยมุ่งแสดงให้
ประชาคมโลกเห็นว่าประเทศไทยให้ความส�าคัญกับหลักการเช่นว่านั้น ในฐานะ
การเป็นหลักการสากล อย่างไรก็ตาม การยอมรับเอาหลักการสากลมาใช้บังคับ
แบบที่สองนี้ มักจะน�ามาใช้กับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม โดยมักจะ
ไม่ค่อยใช้บังคับเป็นการทั่วไป (ข)
59 สนธิสัญญาในความหมายทั่วไป (generic term)
40 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่