Page 57 - kpiebook66013
P. 57
เช่นเดียวกัน กล่าวคือ การรวมตัวของลูกจ้างจะเกิดขึ้นจริงและมีการประชุม
ตามรอบการประชุมจริง หรือไม่ อย่างไร ซึ่งก็จะย้อนกลับมาสู่ค�าถามเดิมๆ เกี่ยวกับ
บริบทแวดล้อมที่จะช่วยส่งเสริมให้กฎหมายแรงงานสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐาน
ของ ILO นั่นเอง
ท้ายที่สุด ประเด็นด้านภาพลักษณ์ของประเทศไทยในทางระหว่าง
ประเทศอันเกี่ยวกับเรื่องการแรงงาน ซึ่งไม่อาจหนีพ้นเรื่องการท�าประมงผิดกฎหมาย
ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing
- IUU) ไปได้ ประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีบทบาทเกี่ยวกับการผลิตและส่งออก
สินค้าประมงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่กลับได้รับใบเหลืองจากสหภาพยุโรป
เมื่อ พ.ศ. 2558 ด้วยมีการตรวจพบการท�าประมงผิดกฎหมาย ในลักษณะไม่ให้
ความร่วมมือกับมาตรการ IUU Fishing ของสหภาพยุโรป แม้ว่าต่อมาใน พ.ศ. 2561
สหรัฐอเมริกาจะได้เลื่อนสถานะบัญชีการค้ามนุษย์ของประเทศไทยจาก Tier-3
ขึ้นเป็น Tier-2 ก็ตาม แต่ประเทศไทยก็ยังคงมีหน้าที่ส�าคัญ 2 ประการ เพื่อลบมลทิน
จากปัญหา IUU Fishing ตามเกณฑ์ของสหภาพยุโรป กล่าวคือ ประการแรก
การก�ากับดูแลการประมงผิดกฎหมาย และประการที่สอง การค้ามนุษย์
(จากสถานการณ์แรงงานต่างด้าว) ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งมีอ�านาจ
สูงสุดในการปกครองประเทศในช่วงเวลาดังกล่าวก็ได้ด�าเนินการแก้ไขปัญหา
ทั้ง 2 ประการดังกล่าวให้ดีขึ้น กระทั่ง 8 มกราคม 2562 สหภาพยุโรปจึงเพิกถอน
79
ใบเหลืองประเทศไทย อันท�าให้เห็นถึงความส�าเร็จของประเทศไทยที่สามารถ
แก้ไขปัญหาแรงงานในภาคประมงได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ประเด็นด้าน
การค้ามนุษย์ที่เป็นแรงงานก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองและพัฒนากลไกต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเกี่ยวกับการใช้และการจ้างแรงงาน
กลับมาดีดังเดิม
79 จิรายุ ฉัตระทิน, การประมงไทย & IUU Fishing และแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล
(พ.ศ. 2558 – 2564), (ออนไลน์) https://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/Journal/
article-00703.pdf, เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565.
57