Page 62 - kpiebook66013
P. 62

ท�าให้ท้ายที่สุดแล้ว การรายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายจาก
            ส่วนราชการ (ผ่านระบบ eMENSCR) มายังสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

            แห่งชาติในฐานะหน่วยงานที่ให้การอ�านวยการ ประสาน และก�ากับติดตามเรื่อง
            ดังกล่าวมีจ�านวนค่อนข้างน้อย


                        ในส่วนของพระราชบัญญัติที่มีชื่อเฉพาะและเกี่ยวกับการแรงงานนั้น
            ปรากฏบทสรุปในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง “บทบาทและหน้าที่ของสมาชิก

            สภาผู้แทนราษฎรด้านการแรงงานภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ” ที่อาจสรุปสาระส�าคัญ
            เกี่ยวกับประเด็นปัญหาของพระราชบัญญัติทั้ง 13 ฉบับได้ว่า 80


                        1. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528
            ควรเปลี่ยนแนวคิดจากการมุ่งป้องกันการหลอกคนหางาน มาเป็นการคุ้มครอง

            ผู้หางานให้เข้าถึงสิทธิแรงงานพื้นฐานต่างๆ อย่างครบถ้วนเช่น การไม่เลือกปฏิบัติ
            ส�าหรับการเข้าสู่ตลาดแรงงาน (เพิ่มเป็นหมวดทั่วไป) รวมทั้งการจัดหางานในประเทศ

            ที่ผ่านตัวแทนจัดหางานเองควรเพิ่มมาตรการที่เป็นการพัฒนาศักยภาพแรงงาน
            ให้สอดคล้องกับการจ้างงานในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิต


                        2. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ควรแก้ไขบทบัญญัติ

            มาตรา 15 ให้การไม่เลือกปฏิบัตินั้นคุ้มครองทุกปัจจัยที่อาจท�าให้เกิดการเลือก
            ปฏิบัติได้ มิใช่เฉพาะความแตกต่างทางเพศชายและเพศหญิงในประเด็นค่าตอบแทน
            การท�างานอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ รวมทั้งควรเปลี่ยนกรอบความคิดที่กฎหมาย

            คุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายของแรงงานภาคอุตสาหกรรมที่มีเวลาการเข้างาน

            และเลิกงานในแต่ละวันท�างานเหมือนกัน โดยต้องหันมาให้ความส�าคัญกับ
            โลกวิถีใหม่ ที่การท�างานอาจเกิดขึ้นได้ทุกที และผู้ใช้แรงงานหนึ่งคนอาจมีหลายงาน
            ที่สอดรับกับหลักการท�างานที่มีคุณค่าได้ อีกทั้งเรื่องการตรวจแรงงานเองควรได้รับ

            การพัฒนา โดยอาจน�าตัวอย่างจากกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย

            และสภาพแวดล้อมในการท�างานมาเป็นต้นแบบ

            80   ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์, วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ และฉัฏฐเมษ ภิรมย์พานิช, รายงานวิจัย
            ฉบับสมบูรณ์ เรื่อง บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้านการแรงงาน
            ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ, อ้างแล้ว, หน้า 193 - 201.



           62     การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
                  ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67