Page 65 - kpiebook66013
P. 65
12. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ควรทบทวน
องค์ความรู้ภาพรวมเพื่อการท�าความเข้าใจในความสัมพันธ์ของระบบประกันสังคม
ระบบเงินทดแทน และระบบการให้ความช่วยเหลือหรืออุดหนุนโดยวิธีอื่นที่รัฐ
จัดสรรให้ อันท�าให้ทราบถึงโครงสร้างโดยรวมของระบบความมั่นคงทางสังคม
ที่ปรากฏในบทกฎหมายไทย อีกทั้งควรพิจารณาแก้ไขให้บุคคลและกิจการที่ไม่อยู่
ภายใต้การบังคับใช้ของกฎหมายควรเป็นไปในท�านองเดียวกันกับกฎหมายเกี่ยวกับ
เงินทดแทน อีกทั้งประโยชน์ทดแทนกรณีตายควรได้รับในอัตราเดียวกันกับอัตรา
ที่ก�าหนดไว้ส�าหรับกฎหมายเงินทดแทน
13. พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 อาจจ�าเป็นต้อง
พิจารณาปรับแก้ข้อยกเว้นการได้รับสิทธิประโยชน์ (มาตรา 22) ให้เป็นไป
ในทิศทางเดียวกันกับกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม อีกทั้ง กรณีที่ลูกจ้างผู้พึงมีสิทธิ
ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย กฎหมายได้ก�าหนดล�าดับผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ไว้
ซึ่งรวมถึงคู่สมรสของตัวลูกจ้างด้วย ทว่า คู่สมรสในที่นี้ย่อมหมายถึง ชายและหญิง
และในทางปฏิบัติมักปรากฏว่าเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องแห่งการสมรส
โดยขอดูทะเบียนสมรส ซึ่งวิถีการด�าเนินชีวิตในปัจจุบันพบว่ามีกลุ่มเพศทางเลือก
และการอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้มีการจดทะเบียนสมรส ดังนี้แล้ว
การพัฒนาเนื้อหากฎหมายเงินทดแทนก็ควรสอดรับกับข้อเท็จจริงนี้ทั้งในเชิงทฤษฎี
และทางปฏิบัติ
ในส่วนของกฎหมายล�าดับรองนั้น ก็ควรส่งเสริมให้เกิดองค์การ
แรงงานระดับชาติที่มีความพร้อมในการออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจ้างแรงงาน
ล�าดับรอง เพื่อให้กฎเกณฑ์สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะในแต่ละสาขาอาชีพ
ในส่วนของค�าพิพากษาของศาลฎีกานั้น อาจน�าไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 โดยการเพิ่ม
“(6) กรณีที่นายจ้างประสบปัญหาในทางเศรษฐกิจ และจ�าเป็นต้องยุติกิจการทั้งหมด
หรือแต่บางส่วน” ในท�านองเดียวกันส�าหรับมาตรา 31 อาจเพิ่ม (5) ที่สามารถใช้
ข้อความเดียวกันดังกล่าวมานั้นได้ อีกทั้ง อาจต้องศึกษาเกี่ยวกับกรอบแนวคิด
65