Page 61 - kpiebook66013
P. 61
(ก) การวิเคราะห์เพื่อก�าหนดปัญหาทางกฎหมายและแนวปฏิบัติ
เกี่ยวกับการจ้างงานจากบทกฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
การแรงงานไทยในปัจจุบัน และค�าพิพากษาคดีแรงงาน
ในส่วนของรัฐธรรมนูญนั้น อาจพิเคราะห์ได้ว่า เนื้อหาในรัฐธรรมนูญ
ทั้งส่วนที่เป็นเนื้อหา (สิทธิเสรีภาพ) และส่วนที่เป็นกลไก (ยุทธศาสตร์ชาติ
แผนการปฏิรูปประเทศ แผนแม่บท และผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย) ได้มีการน�าไป
ใช้ปฏิบัติแล้วโดยครบถ้วน โดยส่วนที่เป็นเนื้อหานั้น มีการน�าไปใช้ในฐานะ
หลักการส�าคัญในพระราชบัญญัติฉบับต่างๆ ทว่า ประเด็นเรื่องความเท่าเทียม
และการไม่เลือกปฏิบัตินั้น กลับยังคงปรากฏเป็นปัญหาขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ
การรับรองไว้ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอต่อการน�าไป
ใช้บังคับปฏิบัติจริง และหากเรื่องการไม่เลือกปฏิบัตินี้เป็นสารัตถะของอนุสัญญา
องค์การแรงงานระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันด้วยแล้ว ก็ยิ่งต้อง
มีความชัดเจนของบทบัญญัติตลอดจนถ้อยค�าที่ปรากฏให้สามารถน�าไปใช้ได้อย่าง
ครอบคลุม นอกจากนี้ก็อาจมีเรื่องเสรีภาพในการสมาคมที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ยังไม่สอดคล้องได้อย่างสมบูรณ์ และในส่วนของกลไกนั้น ได้มีการน�ามาใช้
บังคับด้วยมุ่งผลลัพธ์เพื่อการขับเคลื่อนประเทศแล้ว ดังปรากฏว่ามีการแต่งตั้ง
คณะกรรมการหลากหลายชุดเพื่อมาด�าเนินการดังกล่าว ตลอดจนมีการตีพิมพ์
เอกสารเผยแพร่ เพื่อรายงานความก้าวหน้าและความเป็นไปของกลไกทั้ง 4
อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี กระแสการเมืองที่ไม่ใคร่ตอบรับกลไกสามเรื่องแรกสักเท่าใด
ด้วยถูกมองว่าเป็นเรื่องใหม่ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ โดยคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ
ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหารในปี 2557
ท�าให้ช่วงปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่กลางปี 2564) ความตื่นตัวต่อกลไกทั้ง 3 เป็นไปในทิศทาง
ที่ลดน้อยถอยลง ส่วนกลไกที่สี่ (ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย) นั้น ปรากฏว่าส่วนราชการ
ผู้มีหน้าที่ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายเอง ยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกิจการ
หลายส่วนราชการ ก็จะเกิดการตั้งค�าถามว่าส่วนงานใดควรเป็นเจ้าภาพในการจัดท�า
61