Page 60 - kpiebook66013
P. 60
ในทางกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับกฎหมายล�าดับศักดิ์ใด ปัญหานั้นเกี่ยวข้องกับ
พันธกรณีของประเทศไทยในทางระหว่างประเทศ หรือไม่ ถ้าใช่โดยตรงหรือ
โดยอ้อม รวมทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเกณฑ์สากลที่ส�าคัญหรือไม่ ปัญหานั้นสนองต่อ
นโยบายระดับชาติฉบับใดหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ปัญหานั้นเป็นเรื่องเร่งด่วน
หรือเรื่องเฉพาะกิจตามแผนหรือนโยบายใดหรือไม่ ปัญหานั้นเป็นปัญหาเกี่ยวกับ
การบังคับใช้กฎหมายที่สามารถบริหารจัดการได้ทันทีหรือเป็นเรื่องที่ต้องท�า
ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีทางนิติศาสตร์ที่อาจต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนา
รวมทั้งปัญหานั้นเป็นปัญหาเชิงเนื้อหาหรือรูปแบบ และต้องการการบูรณาการ
มากน้อยเพียงใด (2.3)
2.1 การน�าข้อมูลที่ปรากฏในแต่ละหัวข้อย่อยของหัวข้อที่ 1
มาวิเคราะห์กับหลักคิดทางนิติศาสตร์
เนื้อหาส่วนนี้เป็นการน�าข้อมูลที่ได้แสดงไว้ในหัวข้อย่อยของหัวข้อที่ 1
(1.1 – 1.4) มาวิเคราะห์กับหลักคิดทางนิติศาสตร์เพื่อก�าหนดประเด็นปัญหา
ทางกฎหมายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างแรงงานในแง่มุมต่างๆ ของประเทศไทย
อาจแยกอธิบายในรายละเอียดได้ 4 ประการ กล่าวคือ ประการแรก เป็นการน�า
บทกฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงานไทยในปัจจุบัน และค�าพิพากษาคดี
แรงงานที่ส�าคัญมาวิเคราะห์ (ก) ประการที่สอง เป็นการน�านโยบายและแผนชาติ
เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมในประเด็นด้านแรงงานมาวิเคราะห์ (ข) ประการที่สาม
เป็นการน�าแนวคิดและหลักการสากลเกี่ยวกับการแรงงานที่ประเทศไทยมีพันธกรณี
ผูกพันหรือยอมรับเอามามาใช้วิเคราะห์ (ค) และประการที่สี่ เป็นการน�าสถานการณ์
การจ้างแรงงานในปัจจุบันของประเทศไทยมาเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์ (ง)
60 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่