Page 63 - kpiebook66013
P. 63
3. พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาอาจจ�าต้องมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติซึ่งอาจอยู่ใน
รูปของกฎหมายล�าดับรองให้มีการน�าแนวคิดการพัฒนาทักษะและศักยภาพของ
ประชากรให้สอดคล้องกับแนวคิดการจ้างงานในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้
ตลอดชีวิตให้ปรากฏและมีทางให้เกิดผลจริง อีกทั้ง ควรมีการน�าหลักการการจ้าง
นักเรียนนักศึกษาเพื่อฝึกงานก่อนเข้าท�างานมาขยายผลโดยใช้วิธีการ
ในท�านองเดียวกันส�าหรับนิสิตนักศึกษาฝึกงานเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์
โดยไม่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการศึกษา โดยอาจมีการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง และยกเว้นหน้าที่บางอย่างให้กับผู้ประกอบการที่มีการจ้างงาน
ลักษณะดังกล่าว เช่น การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อครบก�าหนดสัญญา
4. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม
ในการท�างาน พ.ศ. 2554 กฎเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัยฯ บางเรื่องยังไม่ปรากฏ
แต่บางเรื่องก็ปรากฏและมีรายละเอียดมาก นอกจากนี้แล้ว การน�ากลไกที่ให้
เอกชนสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจความปลอดภัยและรับรองความปลอดภัย
ให้กับกิจการต่างๆ ได้นั้น ก็ควรได้รับการสานต่อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพแท้จริง
อย่างเป็นรูปธรรม
5. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 กฎหมายฉบับนี้
ต้องแก้ไขเรื่องการรับรองเสรีภาพในการสมาคมที่ปัจจุบันเป็นเพียงแต่สิทธิเท่านั้น
(มาตรา 87) อีกทั้งการให้สิทธิในการจัดตั้ง (มาตรา 88) และบริหารจัดการ (มาตรา 101)
สหภาพแรงงานแก่ลูกจ้างต่างด้าวยังไม่ปรากฏในกฎหมายฉบับนี้ อีกทั้งควรหา
มาตรการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มทางวิชาชีพและสาขาอาชีพระดับชาติ
ที่สอดรับกับบริบทอย่างไทย เพื่อเป็นองค์กรที่มีบทบาทในการก�าหนดเงื่อนไข
การใช้แรงงานที่สอดรับกับบริบทของสาขาอาชีพนั้นแท้จริง
6. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
พ.ศ. 2522 ตัวกฎหมายค่อนข้างมีความชัดเจนและไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ
ทว่า การระงับข้อพิพาทแรงงานในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี อีกทั้งในทางพิจารณาความ
ปรากฏว่าได้มีการก�าหนดให้มีวิธีการไกล่เกลี่ยได้มากขึ้น อันเป็นการทับซ้อนกับ
63