Page 64 - kpiebook66013
P. 64
การไกล่เกลี่ยในคดีแรงงานที่มีอยู่แล้วเป็นทุนเดิม
7. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปท�าที่บ้าน พ.ศ. 2553
ควรเพิ่มกลไกหรือวิธีการที่เหมาะสมเพื่อการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย
ของผู้ว่าจ้าง ตลอดจนควรเพิ่มมาตรการที่สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาศักยภาพ
และทักษะฝีมือแรงงานให้กับผู้ใช้แรงงานกลุ่มนี้ เพื่อให้มีทักษะฝีมือสอดรับต่อ
ทิศทางของเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21
8. พระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ควรเพิ่มมาตรการ
เพื่อการตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
9. พระราชก�าหนดการบริการจัดการการท�างานของคนต่างด้าว
พ.ศ. 2560 เนื้อหาในบทกฎหมายได้รับการพัฒนาปรับปรุงจนสามารถเรียกได้ว่า
เป็นการให้การคุ้มครองสิทธิแรงงานให้กับแรงงานต่างด้าวในลักษณะที่ค่อนข้าง
สมบูรณ์ ทว่า ความส�าเร็จของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ต้องสัมพันธ์กับ
กลไกการตรวจคนเข้าเมืองที่พบว่าบ่อยครั้งยังคงเป็นปัญหาค้างคาที่ไม่อาจ
แก้ไขได้อย่างแท้จริง
10. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในงานประมง พ.ศ. 2562
การตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ของประเทศไทยได้ยึดหลักสากลอย่างเคร่งครัด
ท�าให้หลายประเด็นในบทกฎหมายไม่สามารถน�ามาใช้ปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
ได้แก่ กรณีการห้ามใช้แรงงานเด็กในงานประมงซึ่งขัดกับวิถีชาวบ้าน ดังนี้
อาจจ�าต้องพิเคราะห์เพื่อแยกระหว่างการท�าประมงเพื่อการพาณิชย์ และ
การท�าประมงพื้นบ้าน
11. พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
การให้เสรีภาพในการรวมกลุ่มกับบุคลากรรัฐวิสาหกิจโดยไม่จ�ากัดอย่างที่เป็นอยู่
ในปัจจุบันที่ให้สิทธิรวมกลุ่มได้เพียงสหภาพเดียวในแต่ละรัฐวิสาหกิจ (มาตรา 40)
และห้ามมีการปิดงานนัดหยุดงานในรัฐวิสาหกิจ (มาตรา 33) ตลอดจนควรปลด
เงื่อนไขที่ก�าหนดห้ามมิให้แรงงานเอกชนและแรงงานรัฐวิสาหกิจสามารถรวมกลุ่ม
และมีกิจกรรมทางแรงงานร่วมกันได้
64 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่