Page 67 - kpiebook66013
P. 67
(ค) การวิเคราะห์เพื่อก�าหนดปัญหาทางกฎหมายและแนวปฏิบัติ
เกี่ยวกับการจ้างงานจากแนวคิดและหลักการสากลเกี่ยวกับ
การแรงงานที่ประเทศไทยมีพันธกรณีผูกพันหรือยอมรับเอามา
ในส่วนของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยมักมี
ประเด็นเรื่องการท�างานล่วงเวลาและไม่จ่ายค่าตอบแทนล่วงเวลา ท�าให้ถูกมองว่า
มีการใช้แรงงานบังคับในประเทศไทย รวมถึงการเข้าถึงหลักประกันทางสังคม
อย่างทั่วถึงและเป็นระบบ
ในส่วนของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่น่าจะมีประเด็นให้ต้อง
พิจารณาเท่าใดนักด้วยเหตุที่ภาคส่วนต่างๆ ทั้งรัฐบาลและเอกชนต่างก็ให้
ความส�าคัญกับแนวปฏิบัติข้อนี้อยู่แล้ว
ในส่วนของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ก็จะมีเนื้อหา
ของอนุสัญญาฉบับที่ 111 ที่กฎหมายแรงงานไทยยังไม่สอดคล้อง และความจ�าเป็น
ในการแก้ไขเนื้อหาในกฎหมายแรงงานสัมพันธ์และกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจ
สัมพันธ์เพื่อประเทศไทยสามารถให้สัตยาบันในอนุสัญญาแกน 2 ฉบับที่เหลือได้
(อนุสัญญาฉบับที่ 87 และอนุสัญญาฉบับที่ 98) อีกทั้งการพัฒนาเรื่อง
การตรวจแรงงานก็จะท�าให้ประเทศไทยมีกลไกที่สนองต่ออนุสัญญาฉบับที่ 129
ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแล้วมากขึ้น
ในส่วนของมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงาน
แนวคิดสากลเรื่องการแรงงานนั้นไม่มีประเด็นน่าห่วงด้วยสถานะของแนวคิดและ
หลักการเรื่องนี้เป็นเพียงทางเลือก แต่ผู้ประกอบการในประเทศไทยส่วนใหญ่
ก็สามารถรับมาปฏิบัติเพื่อสะท้อนให้เห็นคุณภาพในการประกอบกิจการได้ไม่ยากนัก
67