Page 72 - kpiebook66013
P. 72
อย่างไรก็ตาม ปัญหาจะไม่เกิดขึ้นเลยหากตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์
ซึ่งกันและกัน ในทางตรงกันข้าม หากปรากฏว่าตัวแปรที่ถูกก�าหนดขึ้นมีที่มาจาก
ชุดข้อมูลที่หลากหลาย และตัวแปรบางตัวไม่สัมพันธ์กัน อันเป็นการยากที่จะน�า
มาเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์และก�าหนดผลการประเมิน เช่น ตัวแปรที่เป็น
กฎหมายล�าดับศักดิ์ประกาศกระทรวง กับตัวแปรที่เป็นสถานการณ์การจ้างงาน
ด้านประชากรศาสตร์ ยากที่จะน�ามาเปรียบเทียบกันได้ว่าตัวแปรใดควรมีค่าล�าดับ
ความส�าคัญมากกว่า เท่ากับ หรือน้อยกว่ากัน แม้ว่าข้อมูลทั้งสองเรื่องจะส่งผล
ต่อประเด็นปัญหาเกี่ยวกับช่องว่างของกฎหมายหรือแนวปฏิบัติด้านการแรงงาน
เหมือนกันก็ตาม แต่ข้อมูลทั้งสองชุดกลับไม่มีค่ากลางร่วมกันเพื่อท�าการเปรียบเทียบ
ล�าดับความส�าคัญได้ ดังนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการน�าชุดข้อมูลที่รวบรวมได้
มาวิเคราะห์ผล การจัดกลุ่มตัวแปรจึงอาจเป็นวิธีการหนึ่งที่ท�าให้ชุดข้อมูลทุกชุด
ที่รวบรวมได้สามารถน�ามาใช้ประโยชน์ โดยตัวแปรในแต่ละกลุ่มที่ถูกจัดวาง
ต้องมีค่ากลางร่วมกันเพื่อจะได้น�ามาประเมินล�าดับความส�าคัญของปัญหา
ที่ตัวแปรนั้นๆ มีผลต่อปัญหานั้นได้
ขั้นตอนที่ 3 ก�าหนดค่าคะแนนให้ตัวแปรต่างๆ ตัวแปรที่ถูก
ก�าหนดขึ้น ต้องถูกจัดเรียงความส�าคัญ โดยตัวแปรที่มีความส�าคัญมากต้องได้รับ
ค่าคะแนนมาก ทว่า เพื่อความเป็นเอกภาพเมื่อตัวแปรถูกก�าหนดให้จัดวางในกลุ่ม
กลุ่มตัวแปรจะต้องมีจ�านวนตัวแปรที่มีค่าในระดับหนึ่งๆ เป็นจ�านวนที่เท่ากัน
ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ได้ก�าหนดให้ค่าคะแนนที่อาจเกิดขึ้นได้กับตัวแปรมี 3 ล�าดับ
ด้วยกัน กล่าวคือ ตัวแปรที่มีความส�าคัญมากที่สุด มีค่าคะแนนเท่ากับ 3 ตัวแปร
ที่มีความส�าคัญปานกลาง มีค่าคะแนนเท่ากับ 2 และตัวแปรที่มีความส�าคัญ
น้อยที่สุด มีค่าคะแนนเท่ากับ 1
ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อมาก็คือ การล�าดับความส�าคัญของค่าตัวแปร
ในการศึกษานี้จะใช้หลักการทางนิติศาสตร์ เช่น ล�าดับศักดิ์แห่งกฎหมายเป็นเกณฑ์
ในการก�าหนดค่าคะแนนให้กับตัวแปร กรณีที่ยากจะน�าหลักการทางนิติศาสตร์
มาเป็นเกณฑ์ในการก�าหนดค่าคะแนนตัวแปร ก็อาจใช้วิธีการให้เหตุผลประกอบสรุป
ในการจัดท�าค่าตัวแปรก็ได้ แต่เหตุผลนั้นย่อมต้องมองโดยรอบ รับฟังได้
72 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่