Page 71 - kpiebook66013
P. 71
2.3 การก�าหนดให้ปัญหาของกฎหมายแรงงานเรื่องใด
เป็นประเด็นเร่งด่วน หรือเรื่องที่ต้องพิจารณามาเป็นล�าดับ
แรก ๆ หรือเรื่องที่อาจมีเวลาในการศึกษาเพื่อการพัฒนา
ที่สมบูรณ์อย่างรอบด้าน
ในการล�าดับความส�าคัญของประเด็นปัญหาทางกฎหมายและ
แนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการจ้างงานนั้น อาจกระท�าได้โดยน�าข้อเท็จจริงหรือประเด็น
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาประเมิน (ค) จากแบบประเมินที่ก�าหนดขึ้นโดยผ่านขั้นตอน
การวิเคราะห์ (ก) และวิธีการการให้ค่าคะแนน (ข) ดังนี้
(ก) ขั้นตอนการวิเคราะห์ค่าของข้อเท็จจริงและสถานการณ์ต่าง ๆ
ขั้นตอนที่ 1 ก�าหนดตัวแปรเพื่อใช้บ่งชี้ความส�าคัญของปัญหา
การก�าหนดตัวแปรดังกล่าวนี้ อาจน�าประเด็นหรือเรื่องอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่า
กฎหมายหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับแรงงานไม่สอดคล้องมาก�าหนดให้เป็นตัวแปร
เพื่อใช้บ่งชี้ความส�าคัญของปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้น
ขั้นตอนที่ 2 จัดกลุ่มตัวแปรเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ
และประเมินสถานะของตัวแปร ตัวแปรที่ถูกก�าหนดขึ้นจะถูกน�ามาวิเคราะห์
กับประเด็นปัญหาว่ามีผลในเชิงความสัมพันธ์ที่ให้ค่าความส�าคัญกับปัญหานั้น
มากน้อยเพียงใด ดังนี้แล้ว ในระหว่างตัวแปรด้วยกันจึงต้องมีค่าคะแนน (ดังจะได้กล่าว
ในรายละเอียดต่อไป) เพื่อน�ามาใช้เทียบเคียงล�าดับความส�าคัญของตัวแปร
ที่ส่งผลมากหรือน้อยกับปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การที่กฎหมายหรือแนวปฏิบัติ
ในประเด็นด้านแรงงานไม่สอดคล้องกับตัวแปรหนึ่ง เช่น รัฐธรรมนูญ ย่อมมีผลกระทบ
มากกว่าการที่กฎหมายหรือแนวปฏิบัติในประเด็นด้านแรงงานไม่สอดคล้องกับ
อีกตัวแปรหนึ่ง เช่น พระราชบัญญัติ ส�าหรับเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอาศัย
ล�าดับศักดิ์แห่งกฎหมายเป็นเหตุผลในการอธิบาย อันหมายความว่า รัฐธรรมนูญ
และพระราชบัญญัติมีจุดเกาะเกี่ยวเดียวกัน คือความเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ที่มีล�าดับศักดิ์กฎหมายอันเป็นค่ากลางเชื่อมโยงความสัมพันธ์
wp-content/uploads/2021/07/BR13-1.pdf, เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2565.
71