Page 74 - kpiebook66013
P. 74
เทียบเท่าย่อมมีค่าคะแนนที่ 2 และถ้าแสดงผลกระทบต่อกฎหมายล�าดับรองอื่นๆ
ย่อมมีค่าคะแนนที่ 1 ส่วนค�าพิพากษานั้นจะมีค่าคะแนนเป็นเท่าใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับว่า
ค�าพิพากษานั้นมีนัยเกี่ยวเนื่องกับกฎหมายล�าดับศักดิ์ใด เช่น จากข้อเท็จจริง
ที่ปรากฏในหัวข้อ 1.1 (ง) ค�าพิพากษาเกี่ยวเนื่องกับกฎหมายล�าดับศักดิ์พระราชบัญญัติ
ดังนั้นจึงมีค่าคะแนนที่ 2
ตัวแปรกลุ่มที่ 2 นโยบายและแผนชาติเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม
ในประเด็นด้านแรงงาน ปรากฏว่ามีการน�าแผนนโยบาย 3 ระดับมาใช้ศึกษา ได้แก่
แผนระดับชาติ กรอบภาพใหญ่ คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ย่อมมีค่าคะแนนที่ 3 แผนระดับชาติกรอบภาพเฉพาะเจาะจง กล่าวคือ แผนพัฒนา
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ
และสังคม พ.ศ. 2560 ย่อมมีค่าคะแนนที่ 2 และแนวนโยบายระดับกระทรวง
ที่มีสถานะเป็นแผนเร่งด่วนเพื่อประเด็นด้านแรงงานย่อมมีค่าคะแนนที่ 1
ตัวแปรกลุ่มที่ 3 แนวคิดและหลักการสากลเกี่ยวกับการแรงงาน
ปรากฏหลักการและกติกาสากลที่อาจก�าหนดกลุ่มตามความหนักเบาของผลกระทบ
ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยกรณีการละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามได้ ดังนี้ กลุ่มหลักการ
และกติกาที่ประเทศไทยมีพันธะผูกพันการไม่ปฏิบัติตามย่อมผิดพันธกรณีในทาง
ระหว่างประเทศ ประกอบด้วย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal
Declaration of Human Rights) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable
Development Goals (SDGs)) และอนุสัญญา ข้อแนะ หรือพิธีสารขององค์การ
แรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) ที่ประเทศไทย
ได้ให้สัตยาบันหรือรับเอาแล้ว ย่อมมีค่าคะแนนที่ 3 กลุ่มต่อมากลุ่มหลักการและ
กติกาที่ประเทศไทยไม่ได้ให้สัตยาบันหรือรับเอา ดังนี้โดยสถานะจึงไม่มีผลผูกพัน
ต่อประเทศไทย แต่สากลกลับให้ความส�าคัญกับเนื้อหาของกติกานั้นอันท�าให้
ประเทศไทยควรพิจารณาและหาทางให้สัตยาบันหรือรับเอากติกาเหล่านั้นมาปฏิบัติ
อันประกอบด้วยอนุสัญญาฉบับที่ 87 และอนุสัญญาฉบับที่ 98 และอนุสัญญา
กลุ่ม Governance Conventions ย่อมมีค่าคะแนนที่ 2 และกลุ่มกติกาที่ไม่มี
สภาพบังคับแต่การรับไว้ปฏิบัติย่อมสะท้อนภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ อันได้แก่
74 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่