Page 25 - kpiebook66013
P. 25
การตรากฎกระทรวงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้างงานส�าหรับบางลักษณะงาน
เป็นการพิเศษนั้น แม้กระทรวงแรงงานจะเป็นเจ้าภาพในการจัดท�าเพราะเป็นหน้าที่
ของส่วนราชการตามกฎหมาย แต่ก็ได้มีการเชิญผู้แทนกลุ่มอาชีพหรือวิชาชีพ
ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีประสบการณ์ท�างาน และเป็นบุคคลที่ถูกยอมรับในแวดวงอาชีพ
หรือวิชาชีพดังกล่าว ทั้งส่วนของนายจ้างและลูกจ้างมาร่วมเป็นกรรมการพิจารณา
ก�าหนดรายละเอียดของกฎกระทรวง อันแสดงถึงการที่ประเทศไทยยอมรับให้
ข้อตกลงร่วมกันของภาคีสังคมเป็นที่มาของกฎเกณฑ์การจ้างงานรูปแบบหนึ่ง
โดยทางอ้อมผ่านกฎกระทรวงซึ่งเป็นกฎหมายล�าดับรองที่มีรัฐเข้ามาช่วยก�ากับ
ดูแลนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ อาจตั้งข้อสังเกตได้ 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก
เงื่อนไขการจ้างงานส�าหรับงานเกษตรกรรม และงานขนส่ง ที่ยังคงปรากฏอยู่
ในรูปของกฎกระทรวงนั้น สมควรได้รับการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมและพัฒนา
ให้มีสถานะเป็นกฎหมายล�าดับศักดิ์พระราชบัญญัติเฉกเช่นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ
การจ้างแรงงานในงาน 3 ประเภทที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ทั้งนี้ด้วยเหตุที่
งานทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ ที่ก�าหนดไว้ในแผนแม่บท
เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่เกี่ยวกับการแรงงานตามยุทธศาสตร์ชาติ และ
ประการที่สอง การยอมรับให้ภาคีสังคมเป็นผู้ก�าหนดเงื่อนไขการจ้างงานส�าหรับ
บางลักษณะงานที่มีความพิเศษเฉพาะนั้น ควรได้รับการพัฒนาและยกระดับ
ให้มีผลบังคับใช้ได้จริงตามหลักการที่สากลยอมรับโดยไม่จ�าต้องส่งผ่านอ�านาจรัฐ
ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม รัฐอาจเข้ามาแทรกแซงได้แต่เท่าที่จ�าเป็น
และเพื่อก�ากับดูแลให้เงื่อนไขการจ้างงานดังกล่าวไม่ต�่าไปกว่ามาตรฐานสากล
ที่ประเทศไทยมีพันธะผูกพัน
(ง) ค�าพิพากษา
ค�าพิพากษาในระบบกฎหมายไทยเป็นเพียงการปรับบทกฎหมาย
กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยข้อเท็จจริงดังกล่าวอาจเป็นเรื่องการโต้แย้งสิทธิ
ตามกฎหมายแรงงานหรือตามสัญญาจ้างแรงงานก็ได้ ค�าพิพากษาจะออกมา
เป็นอย่างไรนั้นไม่มีผลท�าให้กลายเป็นกฎหมายไปได้ ค�าพิพากษาเป็นเพียง
25