Page 22 - kpiebook66013
P. 22

การศึกษาบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยจึงจ�าเป็นต้องก�าหนด
            ประเด็นของเรื่องที่จะศึกษาแล้วพิจารณาว่าเรื่องนั้นมีพระราชบัญญัติเฉพาะเรื่อง

            เกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่ หากมีก็อาจเริ่มศึกษาจากบทบัญญัตินั้นว่ามีประเด็นใด
            ที่ไม่สอดรับกับหลักการและแนวปฏิบัติสากลโดยเฉพาะส่วนที่ประเทศไทยมีหน้าที่

                                     31
            โดยพันธกรณีระหว่างประเทศ  ที่ต้องปฏิบัติอย่างมิอาจเลี่ยงได้ ตลอดจนเนื้อหา
            ส่วนใดที่ยากต่อการน�าไปปฏิบัติให้เกิดสัมฤทธิ์ผลอันเนื่องมาจากเนื้อหาของ

            กฎหมายที่ปรากฏยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์หรือขาดกลไกในการบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม
            หากไม่ปรากฏพระราชบัญญัติเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ก็ต้องพิเคราะห์

            หาบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวข้องอันน�ามาใช้เป็นตัวแปรในการแสวงหา
            แนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจ้างแรงงานในประเด็นนั้นๆ

            ต่อไป


                        (ค) กฎหมายล�าดับรอง

                                                                32
                        ความเป็นกฎหมายที่มีพลวัตของกฎหมายแรงงาน  ท�าให้ประสิทธิภาพ
            ในการบังคับใช้กฎหมายแรงงานจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายล�าดับพระราชบัญญัติ
            ให้อ�านาจแก่ฝ่ายบริหารหรือองค์กรด้านแรงงานในการออกกฎเกณฑ์ล�าดับรอง

            ที่ก�าหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ อันเป็นรายละเอียดของพระราชบัญญัติ
            ท�าให้มีกลไกและเครื่องมือในการน�าเนื้อหาของพระราชบัญญัติไปใช้ปฏิบัติงาน

            ได้อย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ผันแปรอยู่
            อย่างต่อเนื่องตามกระแสการเมืองภายในและบริบทแวดล้อมสากล นอกจากนี้แล้ว


            31   พันธกรณีระหว่างประเทศดังกล่าว อาจจ�าแนกออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ กรณีแรก เรื่องที่
            ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญา หรือรับเอาข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
            กรณีที่สอง เรื่องที่ประเทศไทยเข้าผูกพันกติกาสากลที่เป็นเรื่องส�าคัญและจ�าเป็นตามนัยของ
            สหประชาชาติ เช่น การรับเอาแนวทางในการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มาใช้บังคับปฏิบัติกับ
            กิจการต่างๆ ในประเทศ และกรณีที่สาม เรื่องที่ประเทศไทยได้ท�าสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
            ทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะต่างๆ เช่น การจัดท�าข้อตกลง
            ทางการค้า (FTA) (ผู้เขียน)
            32   ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์, หน่วยที่ 1 หลักการของกฎหมายแรงงานและสัญญาจ้าง
            แรงงาน, (นนทบุรี :mโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช), 2564, หน้า 1-48.




           22     การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
                  ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27