Page 20 - kpiebook66013
P. 20
ดังนี้ การบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยควรสนองต่อหลักการคุ้มครอง
สิทธิเสรีภาพทั้ง 4 เรื่องดังกล่าวข้างต้น ทั้งส่วนที่เป็นเนื้อหา และส่วนที่เป็น
กลไกเพื่อให้เนื้อหาของกฎหมายสามารถน�าไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมได้แท้จริง
อีกทั้ง กลไกใหม่ตามรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์ชาติ”
“แผนการปฏิรูปประเทศ” “แผนแม่บท” และ “สัมฤทธิ์ผลของกฎหมาย” ย่อมเป็น
ข้อมูลอีกชุดที่การพัฒนาปรับปรุงกฎหมายแรงงานต้องให้ความส�าคัญและน�ามา
เป็นกรอบการพัฒนากฎหมายที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าก�าหนดมาตรการเพื่อคุ้มครอง
สิทธิเสรีภาพเกี่ยวกับการแรงงานของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้การรับรองไว้
(ข) พระราชบัญญัติหรือพระราชก�าหนดที่มีชื่อเป็นการเฉพาะ
กรอบของกฎหมายแรงงานไทยค่อนข้างกว้าง เพราะประเทศไทย
ไม่มีประมวลกฎหมายแรงงาน ดังนี้กฎหมายใดเป็นกฎหมายแรงงานก็ต้องพิจารณา
จากเนื้อหาเป็นส�าคัญว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงานหรือไม่ เพียงใด
เกี่ยวข้องทางตรงหรือทางอ้อมอย่างไร ท�าให้กฎหมายแรงงานมีทั้งส่วนที่เป็น
พระราชบัญญัติเฉพาะเรื่องในปัจจุบัน (สิงหาคม 2565) นับฉบับหลักได้รวมทั้งสิ้น
13 ฉบับ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มแรก การคุ้มครองแรงงานในลักษณะ
29
ปัจเจกบุคคลจ�านวน 4 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน
พ.ศ. 2528 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติ
ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท�างาน พ.ศ. 2554 กลุ่มที่สอง
การคุ้มครองแรงงานในลักษณะร่วมกันและการระงับข้อพิพาทด้านแรงงาน
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ประกาศราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 136/ตอนที่ 132 ก/หน้า 24/27 พฤศจิกายน 2562 และประกาศราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 137 ตอนที่ 2 ก หน้า 3 วันที่ 10 มกราคม 2563 ตามล�าดับ.
29 ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์, วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ และฉัฏฐเมษ ภิรมย์พานิช, รายงานวิจัย
ฉบับสมบูรณ์ เรื่อง บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้านการแรงงาน
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ, อ้างแล้ว, หน้า 12.
20 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่